แบบจำลองอะตอมของนีลส์ โบร์
270 views | 17/06/2024
Copy link to clipboard
pornpun yoopakdee
Content Creator

แบบจำลองอะตอมของนีลส์ โบร์ คือหนึ่งในแบบจำลองอะตอมที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความเข้าใจโครงสร้างของอะตอม เนื่องด้วยไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีความซับซ้อนน้อยโดยมีนิวคลีออนเพียง 1 ตัว คือ โปรตอน และ อิเล็กตรอน 1 ตัว นีลส์ โบร์จึงได้กำหนดแบบจำลองอะตอมของธาตุไฮโดรเจนขึ้นมา โดยแบบจำลองอะตอมไฮโดรเจนของนีลส์ โบร์ กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้


1. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นชั้น ๆ


2. อิเล็กตรอนในสภาวะพลังงานต่ำสุด จะอยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุด เรียกว่า สภาวะนี้ว่า สภาวะพื้น (Ground State) และลำดับเลขชั้นว่า ชั้นที่ 1


3. เมื่ออิเล็กตรอนได้รับพลังงานมากเพียงพอจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะกระโดดออกจากสภาวะพื้น ไปสู่สภาวะกระตุ้น (Exited State) ซึ่งมีได้หลายชั้น (ตั้งแต่ชั้นที่ 2 ถึง อนันต์) จะเรียกชื่อชั้นที่ 2 ว่า สภาวะกระตุ้นที่ 1, เรียกชั้นที่ 3 ว่า สภาวะกระตุ้นที่ 2 เช่นนี้ไปเรื่อยๆ


4. อิเล็กตรอนที่อยู่ในสภาวะกระตุ้น จะมีสภาพไม่เสถียร ทำให้อิเล็กตรอนกระโดดกลับลงมาสู่สภาวะพื้น หรือสภาวะกระตุ้นในชั้นที่ต่ำกว่า เช่น หากอิเล็กตรอนถูกกระตุ้นไปอยู่ชั้นที่ 4 สามารถกระโดดกลับมายังชั้นที่ 3, 2 และ 1 ได้


5. ในขณะที่อิเล็กตรอนกระโดดกลับลงมาสู่ชั้นที่ต่ำกว่า จะปล่อยพลังงานออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งความถี่ของคลื่นที่ปล่อยออกมาขึ้นอยู่กับความแตกต่างของระดับพลังงานในแต่ละชั้น

บทความโดย

ครูนาส กนกวรรณ ภิญโญชีพ


เคมี A-LEVEL by ครูนาส คอร์สที่ช่วยพาน้อง ๆ ลุยศึก TCAS

สรุปเนื้อหากระชับ คัดแต่เนื้อหาเน้น ๆ ใช้สำหรับเตรียมสอบ ซื้อเลย

สมัครเลย >>Click