การคายพลังงานของอิเล็กตรอนตามแบบจำลองอะตอมของนีลส์ โบร์
154 views | 17/06/2024
Copy link to clipboard
pornpun yoopakdee
Content Creator

แบบจำลองอะตอมไฮโดรเจนของนีลส์ โบร์ ได้กล่าวถึงการให้พลังงานกับอิเล็กตรอน เพื่อให้อิเล็กตรอนกระโดดเปลี่ยนชั้นจากสภาวะพื้น (Ground State) ซึ่งมีพลังงานต่ำ(พลังงานติดลบมาก) ไปอยู่ในสภาวะกระตุ้น(Exited State) ซึ่งมีพลังงานสูง(พลังงานติดลบน้อยกว่าชั้นล่าง) โดยแต่ละระดับชั้นพลังงานจะมีค่าต่างกันไป 



พลังงานของอิเล็กตรอนแต่ละชั้น สามารถหาได้จาก



โดยที่ En = พลังงานของชั้นที่ n 

E1 = พลังงานของชั้นที่ 1 (สำหรับไฮโดรเจนอะตอม E1 = -2.18x10-18J)

n = ชั้นที่ n


อิเล็กตรอนที่อยู่ในสภาวะกระตุ้นจะมีพลังงานสูงทำให้ไม่เสถียร จึงต้องกลับลงมาอยู่ในชั้นที่ต่ำกว่าพร้อมกับคายพลังงานออกในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้มีความเสถียรมากขึ้น เช่นการกระโดดของอิเล็กตรอนจากชั้นที่ 3 สู่ชั้นที่ 2


ปริมาณพลังงานที่คายออกมาจะมีค่า



ปริมาณพลังงานที่คายออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น สามารถนำไปหาความถี่คลื่นได้จากสมการควอนตัม

E = hf

E  พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

h  ค่าคงที่ของพลังค์ มีค่า 6.6x10-34 J.s

f  ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


จากตัวอย่างการกระโดดของอิเล็กตรอนจากชั้น 3 มายังชั้นที่ 2 สามารถหาความถี่ของคลื่นได้ดังนี้

302.8×10-21 = 6.6×10-34×f

f = 458.8×1012  Hz


ซึ่งความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่คำนวณได้นี้อยู่ในย่านของแสงสีแดง


บทความโดย

ครูนาส กนกวรรณ ภิญโญชีพ


เคมี A-LEVEL by ครูนาส คอร์สที่ช่วยพาน้อง ๆ ลุยศึก TCAS

สรุปเนื้อหากระชับ คัดแต่เนื้อหาเน้น ๆ ใช้สำหรับเตรียมสอบ ซื้อเลย

สมัครเลย >>Click