ที่มารูปภาพ: Shutterstock RigaAnindita
Conditional clauses เป็นรูปประโยคมักมีการใช้คำว่า “if” เพื่อสื่อถึง เงื่อนไขบางสิ่งบางอย่างที่เราสร้างขึ้น เช่น ฉันจะกวาดห้องเรียนให้ ถ้าเธอไปซื้อขนมมาให้ฉันก่อน
ประโยคนี้มีคำว่า “ถ้า” หรือ “if” ที่ต้องใช้ร่วมกับประโยคสั้น ๆ หรืออนุประโยค (ประโยคที่ไม่สมบูรณ์) เราจึงเรียกรูปประโยคนี้ว่า ประโยคเงื่อนไข หรือ Conditional sentences นั่นเอง ในภาษาอังกฤษประโยคเงื่อนไขยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “if clause” สำหรับวิธี การใช้ if clause แบบง่าย ๆ คือ If clause + Main clause เช่น If you love me, I will love you. (ถ้าคุณรักฉัน ฉันก็จะรักคุณ)
เข้าใจความหมายของเจ้า Conditional sentences คืออะไรไปพอสมควรแล้ว คราวนี้มาดูหลัก การใช้ if clause แบบง่าย ๆ กันต่อ
ประโยคเงื่อนไขหรือ if clause เราสามารถวางประโยคที่เป็นใจความหลัก (Main Clause) ไว้ด้านหน้าหรือด้านหลัง ประโยคเงื่อนไข (if clause) ได้ ยกตัวอย่างการใช้เช่น
If you love him, I will hate you (ถ้าคุณรักเขา ฉันจะเกลียดคุณ)
I will hate you if you love him. (ฉันจะเกลียดคุณ ถ้าคุณรักเขา)
สำหรับ Zero Conditional แม้จะมีคำว่า Zero ก็จริงแต่คำนี้ไม่ได้หมายความว่ารูปประโยคจะไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เกิดขึ้น เนื่องจากทุกครั้งที่เราพูดประโยคเงื่อนไขออกมา รูปประโยคต้องประกอบไปด้วยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเสมอเพื่อให้รูปประโยคของเราสมบูรณ์และน่าเชื่อถือ เป็นประโยคที่ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าไร ความหมายก็ยังเหมือนเดิม เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คำสอนในศาสนาต่าง ๆ เป็นต้น
If Clause ต้องอยู่ในรูปของ present simple
Main Clause ต้องอยู่ในรูปของ present simple
หรือสามารถเขียนให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ดังนี้ If + S + V1, S +V1
เป็นรูปแบบที่เราสามารถนำไปใช้กับเหตุการณ์ที่คิดว่าน่าจะเป็นจริงหรือเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเกิดขึ้นในอนาคตได้ เช่น เมื่ออากาศหนาวมากขึ้นน้ำในห้องน้ำก็จะเย็นไปด้วย หรือ หากแดดแรงมาก ๆ เมื่อเดินออกไปเราต้องร้อนและมีเหงื่อแน่ ๆ เป็นต้น
โครงสร้างประโยค คือ
If Clause ต้องอยู่ในรูปของ present simple
Main Clause ต้องอยู่ในรูปของ will-future or (Modal + infinitive)
หรือสามารถเขียนให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ดังนี้ If I + V1., I will + V1./ If I + V1., I may + V1./
หมายเหตุ : Modal หมายถึงคำกริยาช่วย อย่างเช่น can, may, shall, should, must เป็นต้น
คือการสร้างรูปประโยคเพื่ออธิบายเหตุการณ์เพ้อฝันที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง หรืออาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ
โครงสร้างประโยค คือ
If Clause มักอยู่ในรูปของ past simple
Main Clause จะใช้คำว่า would/could/might + infinitive)
หรือสามารถเขียนให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ดังนี้ If + past simple, would/could/might + verb infinitive
ตัวอย่าง if clause type 2
4.หลักในการใช้ The Third Conditional Sentences หรือ if clause type 3
เป็นประโยคเงื่อนไขที่ใช้กับเหตุการณ์ตรงข้ามกับความเป็นจริง ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งนิยมใช้เพื่อบ่น หรือใช้เพื่อบอกเงื่อนไข เช่น ฉันเสียดายที่ไม่ได้ออกกำลังกายถ้าหากย้อนเวลากลับไปได้ฉันอยากจะออกกำลังกายเยอะ ๆ หุ่นจะได้ดี โดยส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อสื่อให้คนรอบข้างเข้าใจว่าเราเสียใจหรือเสียดายที่ไม่ได้ทำมากน้อยแค่ไหน
โครงสร้างประโยค คือ
If Clause มักอยู่ในรูปของ past perfect
Main Clause มักใช้ would + have + past participle (สามารถใช้ might แทน would ได้)
หรือสามารถเขียนให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ดังนี้ If + had + V3 (Past perfect), would have + V3
ตัวอย่าง if clause type 3
ตัวอย่างและเนื้อหาข้างต้นคงทำให้น้อง ๆ เข้าใจแล้วว่า Conditional sentences คือ อะไร โครงสร้างประโยคและวัตถุประสงค์ของแต่ละเงื่อนไข การนำ Conditional sentences หรือ if clause นั้นเป็นเช่นไรบ้าง เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจหลักการได้โดยง่ายและนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เสมอคือ ประโยคเงื่อนไขที่สร้างขึ้นต้องสื่อสารได้ตรงประเด็นและคู่สนทนาต้องเข้าใจได้โดยง่าย
ที่มาข้อมูล