หากพูดอีกนัยหนึ่ง การแสดงเหตุผลและการแสดงทรรศนะ คือการแสดงทัศนคติ แนวคิด ที่เรามีต่ออีกฝ่าย ไม่ว่าจะในรูปแบบของ การพูดแสดงทรรศนะ และ การเขียนแสดงทรรศนะ ก็อาจนำมาซึ่งการสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันของคนทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงความใจผิด เรื่องดราม่า หรือเหตุการณ์ร้าย ๆ จะเกิดขึ้นหลังจากที่การสื่อสารออกไปทุกครั้ง เราจึงจำเป็นจะต้องคิดวิเคราะห์ กลั่นกรองข้อมูลอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สิ่งที่สื่อสารหรือเขียนออกไปนั้นไม่ส่งผลเสียต่อคนอื่นได้
นอกจากการแสดงเหตุผลและการแสดงทรรศนะ หรือที่เรียกให้ง่ายขึ้น คือ การแสดงความคิดเห็นหรือทัศนคติของเรานั้นมันจะส่งผลกระทบต่อผู้ฟังแล้ว สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ในเวลาเดียวกัน คือ มันสะท้อนชุดความคิด ความเชื่อ ทัศนคติของผู้พูดออกมา เราจึงควรมีวิธีแสดงออกสิ่งในเหล่านี้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ และระแวดระวังไม่ให้เกิดผลเสียมากเกินกว่าผลดี
ทุกครั้งที่จะเกิดการสื่อสารหรือเหตุที่จะต้องทำให้เราแสดงข้อคิดเห็นต่าง ๆ เราจำเป็นต้องตั้งสติ และเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ที่มาและสาเหตุของเรื่องเป็นอย่างไร มีบุคคลใดเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บ้าง ควรฟังข้อมูลจากหลาย ๆ ด้านเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดหรือบิดเบือนข้อมูล เน้นข้อเท็จจริงเป็นหลัก และใช้หลักเหตุผลเป็นตัวตั้ง หากเราอยู่ในสถานะเป็นคนกลาง การสื่อสารควรอย่างยิ่งที่จะสื่อสารแบบตรงไปตรงมา พูดตามความเป็นจริงโดยไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถือเป็นแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุด
การแสดงเหตุผลและการแสดงทรรศนะ ที่ดี ไม่ควรอยู่ในรูปแบบ “คิดสิ่งใดพูดสิ่งนั้น” แต่ต้องเริ่มต้นจากการจับประเด็นของเรื่องราวให้ชัดเจนถูกต้องซะก่อน เพื่อให้ทุกคนโฟกัสถูกเรื่อง คุยถูกจุด หลังจากนั้นจึงเสนอแนะอย่างตรงไปตรงมา เข้าประเด็น เพื่อให้คนฟัง คนเห็นสามารถคิด วิเคราะห์ต่อยอดแล้วก็นำไปพัฒนาให้ดีขึ้นได้
การสื่อสาร หากตรงไปตรงมาจนเกินไป จากที่จะช่วยพัฒนาอาจกลายเป็นความล้มเหลวได้ ก็อาจ ด้วยเหตุนี้การที่เรามีทักษะในการสื่อสารที่ดี พูดจาไพเราะชัดเจน สื่อสารเข้าใจไม่ใช้อารมณ์ และมีการจัดลำดับข้อมูลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ตลอดจนมีน้ำเสียงหรือโทนเสียงที่เป็นมิตร จะช่วยทำให้การเสนอแนะหรือการแสดงทรรศนะ ทั้งในรูปแบบ การเขียนแสดงทรรศนะ และ การพูดแสดงทรรศนะ เป็นประโยชน์ต่อผู้รับสารอย่างมาก
ทุกครั้งที่เกิดการแสดงข้อคิดเห็น มักมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นตรง และแตกต่างกับเราเสมอ ด้วยเหตุนี้การแสดงทรรศนะที่เป็นกลางจึงจะสามารถทำให้ผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของเราได้ เพื่อให้คำติชมของเราเกิดการวิเคราะห์โดยปราศจากอคติอันจะนำมาซึ่งปัญหาในภายหลังได้ ขอเพียงแค่เรายึดความคิดพื้นฐานตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ตัดสินและสื่อสารออกไปด้วยอารมณ์ ตลอดจนลดคำพูดที่อาจนำมาซึ่งข้อขัดแย้งหรือทำให้ผู้อื่น รวมไปถึงผู้รับสารมีอคติกับเราในภายหลังเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
ในการแสดงทัศนะแต่ละครั้ง แน่นอนว่าการฝึกเป็นผู้พูด(หรือผู้พิมพ์)ที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ แต่ “การฟัง” ก็เช่นกันเราจำเป็นจะต้องรับฟังและยอมเป็นผู้ฟังที่ดีให้ได้เสียก่อน โดยเริ่มจาก การลดอคติ รับฟังทุกสิ่งอย่างตั้งใจ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ จับใจความสำคัญ รวมไปถึงรับฟังความเห็นของผู้อื่นแบบตรงไปตรงมาไม่เอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เท่านี้ก็จะช่วยให้เราสามารถแสดงเหตุผล และแสดงทรรศนะได้อย่างมืออาชีพ อีกทั้งการเป็นผู้ฟังที่ดียังทำให้ผู้คนเคารพเราได้อีกด้วย
การแสดงเหตุผลและการแสดงทรรศนะ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับใช้ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการทำงานหรือการเรียนก็ล้วนแล้วแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสนอแนะ แสดงความคิดเห็นทั้งในทางด้านบวกและด้านลบที่อาจเกิดขึ้นได้กับตัวเราเสมอ เราจึงควรที่จะเรียนรู้ในการเป็นผู้รับสารและผู้ส่งสารที่ดีเพื่อให้เราสามารถแสดงเหตุผลและแสดงทัศนะได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข้อมูลจนนำมาซึ่งผลเสียต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากเมื่อใดก็ตามที่เกิดการนำข้อมูลที่เป็นเท็จมาวิเคราะห์หรือเป็นข้อสรุป มักนำมาซึ่งผลเสียต่อชีวิตการทำงานและการเรียนได้นั่นเอง
ที่มาข้อมูล