TCAS66 เป็นปีแรกที่มีการนำเทคโนโลยีด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นทางเลือกในการสอบให้แก่น้อง ๆ โดยนำร่องด้วยการสอบ TGAT ความถนัดทั่วไป, TPAT2 ศิลปกรรมศาสตร์, TPAT3 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์, TPAT4 สถาปัตยกรรมศาสตร์ และ TPAT5 ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ มีข้อสอบให้เลือกทั้งแบบ Computer-based (สอบด้วยคอมพิวเตอร์) และ Paper-based (สอบด้วยกระดาษ) ส่วนการสอบ TPAT1 กสพท สอบด้วยกระดาษอย่างเดียว ค่าสมัครสอบทั้งสองแบบราคาเท่ากัน แต่ CBT จะประกาศผลเร็วกว่า คือประกาศภายในสามวัน หลังจากสอบวิชาสุดท้ายเสร็จ
การสอบวิชา TGAT มีการสอบทั้งหมด 3 Part ได้แก่ Part 1 English Communication, Part 2 Critical & Logical Thinking และ Part 3 Working Competencies ซึ่งใน Part ที่ 2 และ 3 นั้น น้องสามารถเลือกสอบข้อสอบที่เป็นภาษาไทยก็ได้ หรือภาษาอังกฤษก็ได้ ส่วน Part 1 แน่นอนว่าต้องเป็นข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษอย่างเดียว
ในระบบ TCAS รอบที่ 1, 2 และ 4 เป็นการรับตรงกับสถาบันเอง ทปอ. ทำหน้าที่เป็นเพียงหน่วยงานที่ช่วยในการบริหารจัดการสิทธิ์ คือระบบ Clearing House ให้ ทั้งในเรื่องการยืนยันสิทธิ์ และการสละสิทธิ์ แต่การรับสมัคร เงื่อนไขการรับสมัคร และการคัดเลือกเป็นสิทธิ์ของแต่ละสาขาและมหาวิทยาลัย โดยน้อง ๆ สามารถเลือกสมัครกับมหาวิทยาลัยใดก็ได้ ไม่จำกัดจำนวนสถาบัน ขอเพียงแค่ มีคุณสมบัติและองค์ประกอบครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด เพียงแต่อาจจะมีบางสถาบันที่กำหนดว่าให้เลือกสมัครได้เพียง 1 โครงการ หรือ 1 สาขา ของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ หรืออาจจะให้เลือกได้หลายอันดับ หรืออาจเลือกได้ไม่จำกัดเลยก็ได้ ทั้งนี้ต้องศึกษาเพิ่มเติมเป็นกรณีไป
เลือกได้จุก ๆ ถึง 10 อันดับ เรียงตามลำดับความชอบ แต่ในการประกาศผล ทอป. จะประกาศผลการสอบติดเพียง 1 อันดับ คืออันดับสูงสุดที่น้องสอบติดเท่านั้น ดังนั้นการจัดวางอันดับจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอันดับที่อยู่ต้น ๆ จะได้รับโอกาสในการพิจารณาก่อนเรียงลำดับกันลงไป ถ้าน้องสอบไม่ติดอันดับหนึ่ง ระบบจะประมวลผลในลำดับถัดไป จนกระทั้งถึงอันดับสุดท้ายคืออันดับ 10 โดยในการประมวลผลน้องจะไม่สามารถสลับอันดับได้ ดังนั้นวางแผนจัดเรียงลำดับตามความต้องการของตนเองให้ชัดเจนก่อนสมัครนะคะ
การประมวลผลการคัดเลือก 2 ครั้ง ในรอบเดียวกัน (Double Sorting) ถ้าพูดแบบง่าย ๆ คือ ระบบเรียกตัวสำรองขึ้นมาแทนที่ตัวจริงที่เคยสอบติดแล้วสละสิทธิ์ หรือไม่ใช้สิทธิ์ จึงทำให้เกิดที่นั่งว่าง ระบบจะทำการประมวลผลใหม่ในครั้งที่ 2 เพื่อจัดสรรที่นั่งที่ว่างให้น้อง ๆ ช่วยเพิ่มโอกาสสอบติดที่ตรงใจเพิ่มขึ้น โดยรอบที่มีการประมวลผล 2 ครั้ง คือ TCAS รอบที่ 3 Admission (รับตรงร่วมกัน) และ รอบที่ 4 Direct Admission (รับตรงอิสระ)
หากน้อง ๆ สอบติดแล้ว แต่ยังไม่พอใจอยากไปแสวงหาความท้าทายใหม่ในรอบต่อไป น้องสามารถใช้สิทธิ์ในต่อนี้ได้ง่าย ๆ ด้วยการไม่ใช้สิทธิ์นั่นเอง 55 อย่าเพิ่งงงค่ะ การไม่ใช้สิทธิ์ในที่นี้ หมายถึงการที่น้องสอบติดแล้ว แต่ไม่ประสงค์จะเรียนในสาขาที่สอบติด น้องสามารถเลือกไม่ยืนยันสิทธิ์หรือไม่ใช้สิทธิ์ได้ ผลที่เกิดขึ้นคือ น้องจะสามารถไปสมัครต่อใน TCAS รอบต่อไปได้ทันที โดยไม่โดนตัดสิทธิ์ใด ๆ (ในระบบ TCAS การไม่ใช้สิทธิ์ไม่ใช่การสละสิทธิ์) เพราะถือว่า 1 สิทธิ์ที่น้องมี ยังไม่ถูกใช้ เนื่องจากน้องยังไม่ได้กดยืนยันสิทธิ์ในระบบ Clearing House นั่นเอง
หากน้อง ๆ ได้ตัดสินใจยืนยันสิทธิ์ในระบบ Clearing House ไปแล้ว แต่เกิดเปลี่ยนใจ น้องสามารถขอสละสิทธิ์ เพื่อยกเลิกการยืนยันสิทธิ์ที่ทำไปแล้วได้ ซึ่ง ทปอ. กำหนดให้สามารถสละสิทธิ์ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น ถึงจะสามารถไปสมัคร TCAS รอบต่อไปได้ และต้องทำการสละสิทธิ์ผ่านระบบ mytcas ของ ทปอ. จึงจะถือว่าเป็นการสละสิทธิ์ที่สมบูรณ์ และสามารถใช้สิทธิ์สมัครในระบบ TCAS รอบต่อไปได้ การไปขอสละสิทธิ์โดยตรงกับมหาวิทยาลัยเอง ไม่มีผลต่อการคืนสิทธิ์ TCAS ให้แก่น้อง ๆ
เป็นอย่างไรบ้างคะ สิทธิ์จุก ๆ ไปเลยถึง 7 ต่อ เมื่อน้อง ๆ เข้าใจแล้ว ก็เลือกใช้สิทธิ์แต่ละอย่างให้ถูกต้องตามกติกา ใช้อย่างคุ้มค่าและมีความหมายต่อความฝันและอนาคตของน้อง ๆ นะคะ และถ้าใครอยากเพิ่ม Item ด้านที่ปรึกษาแบบเฉพาะตัว สามารถใช้บริการ VCOURSE ซึ่งมีคอร์ส “Private Coaching คอร์สแนะนำการวางแผน TCAS แบบส่วนตัวรายบุคคล” รองรับไลฟ์สไตล์ในแบบที่เป็นตัวตนของน้อง ๆ เพื่อพิชิตคณะและมหาวิทยาลัยในฝัน ลองปรึกษา คลิกเลย