กลไกป้องกันโรคจากระบบภูมิคุ้มกัน
2737 views | 22/11/2021
Copy link to clipboard
Hathaichanok Yimchan
Content Creator

สิ่ง‌แปลก‌ปลอม‌ ‌เชื้อ‌ไวรัส‌ แบคทีเรีย ‌เชื้อ‌รา ‌รวม‌ถึง‌ สาร‌เคมี มลภาวะ‌ต่าง ๆ จาก‌สิ่ง‌แวดล้อม‌ที่‌อยู่‌รอบ‌ตัว‌ เป็นโทษที่อาจทำให้เราป่วยได้ ระบบภูมิคุ้มกัน‌ ใน‌ร่างกายจึง‌เป็น‌เหมือน‌ปราการ‌ด่าน‌แรก‌ เสมือน‌เป็น‌ทหาร‌‌ช่วย‌ปกป้อง‌ร่างกาย‌ให้‌พ้น‌จาก‌การ‌เจ็บ‌ป่วย‌ด้วย‌สิ่งแปลก‌ปลอม‌ต่าง ๆ ‌เหล่า‌นี้ หาก‌‌ภูมิคุ้มกัน‌‌มี‌ปัญหา ‌จะ‌ทำให้‌เรา‌เสี่ยง‌ต่อ‌การ‌ติด‌เชื้อ‌ต่าง ๆ ‌ตาม‌มา เรา‌มา‌รู้จัก‌ ระบบภูมิคุ้มกัน สรุป ‌ลัดสั้นเข้าใจง่าย ดังนี้


ระบบภูมิคุ้มกัน ‌ที่‌มี‌มา‌ตั้งแต่‌แรก‌เกิด คืออะไร

เป็น‌กลไก‌ที่‌ธรรมชาติ‌สรรค์‌สร้าง‌ไว้‌ให้‌กับ‌ร่างกาย‌เรา‌ ‌โดย‌ไม่‌เลือก‌ว่า‌เป็น‌สิ่ง‌แปลก‌ปลอม‌ชนิด‌ใด‌ที่‌จะ‌มา‌ทำ‌อันตราย‌แก่‌ร่างกาย‌ ‌เช่น‌ 


- ผิวหนัง ‌‌ช่วย‌รักษา‌อวัยวะ‌ภายใน‌ให้‌ปลอดภัย‌จากการ‌ติด‌เชื้อ‌ต่าง ๆ ‌หาก‌เรา‌เป็น‌แผล‌เลือด‌ออก‌ จะ‌ทำให้‌เป็น‌จุด‌อ่อน‌ที่‌ทำให้‌เชื้อ‌โรค‌เข้า‌มา‌สู่‌ระบบ‌เลือด‌ได้ 

- เซลล์‌ที่มีเส้นขน หรือ Hairy cells ในระบบ‌ทาง‌เดิน‌หายใจ‌ เพื่อพัดโบกไล่‌เชื้อ‌โรคที่เราสูดดมเข้ามา ไม่ให้‌มา‌เกาะ‌ภายใน‌ทาง‌เดิน‌หายใจ‌ได้‌ ทั้ง‌ยัง‌มี‌ระบบ‌การ‌ขับ‌เสมหะ‌ ‌ให้มี‌ความ‌เหนียว‌สำหรับ‌จับ‌เชื้อ‌โรค‌ด้วย

- สาร‌คัด‌หลั่ง‌ ได้แก่ น้ำตา‌‌ น้ำมูก‌ และ‌น้ำลายใน‌ปาก‌ ทำ‌หน้าที่‌ใน‌การ‌เจือ‌จาง‌เชื้อ‌โรค‌ที่‌เป็น‌อันตราย‌ให้‌ลด‌น้อย‌ลง‌ และยัง‌มี‌โปรตีน‌กลุ่ม‌เอนไซม์‌ ที่‌สามารถ‌ย่อย‌เชื้อ‌โรค‌เหล่า‌นี้‌ให้‌กำจัด‌ออก‌ไป‌ได้‌ง่าย‌ขึ้น‌ด้วย‌

- สาร‌คัด‌หลั่ง‌ใน‌ช่อง‌คลอด‌ ช่วย‌ปรับ‌สมดุล‌ของ‌ช่อง‌คลอด‌‌ให้‌เหมาะ‌สม‌ ‌ไม่‌ให้‌เกิด‌การ‌ติด‌เชื้อ‌รา‌และ‌แบคทีเรีย‌ได้ง่าย‌ หากติดเชื้อจะมี‌อาการ‌คัน‌ ตกขาว‌สี‌เหลือง ‌สี‌เขียว‌และ‌มี‌กลิ่น‌เหม็น‌คาว‌



ภูมิคุ้มกัน‌แบบ‌จำเพาะ‌เจาะจง‌ คืออะไร

เป็นการทำงานของภูมิคุ้มกันแบบเจาะจงชนิดเชื้อโรค ‌เป็น‌เทคนิค‌ที่‌มี‌ประสิทธิภาพ‌สูง‌กว่าแบบที่ 1 โดยเซลล์‌ใน‌ภูมิคุ้มกัน‌แบบ‌จำเพาะ‌เจาะจง‌นั้น‌ มี‌ต้น‌กำเนิด‌มา‌จาก‌ ‌Stem‌ ‌Cell‌ ‌ที่‌อยู่‌ใน‌ไขกระดูก‌ของ‌เรา‌ หลัง‌จาก‌ผ่าน‌กระบวนการ‌เปลี่ยนแปลง‌รูป‌ร่างเติบโตไป ก็‌จะ‌กลาย‌เป็น‌เซลล์‌เม็ด‌เลือด‌ขาว‌ชนิด‌ต่าง ๆ ‌ไป‌ทำ‌หน้าที่‌ปกป้อง‌อวัยวะ‌ต่าง ๆ ทั่วตัว เช่น


‌- Granulocyte มีหน้าที่‌จับ‌เชื้อ‌โรค‌ ‌แล้ว‌ปล่อย‌เอนไซม์‌ออกมาย่อยสลาย ก่อนขับออกจากร่างกาย

- Macrophage ช่วย‌ส่ง‌สัญญาณ‌เรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด B-lymphocyte ให้มาปล่อย‌แอนติบอดี้‌ต่อสู้‌กับ‌เชื้อ‌โรค‌ที่‌จำเพาะ‌เจาะจง

- Dendritic Cell พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ในการต่อสู้เชื้อโรคอยู่ในระบบประสาท

- เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte มีความเก่งกาจมากที่สุดในการจัดการเชื้อโรคแต่ละชนิดได้อย่างเจาะจง แบ่งได้เป็น B-lymphocyte

ที่ปล่อยแอนติบอดี้ออกมาต่อสู้กับเชื้อโรคอย่างจำเพาะได้ถึง 5 ชนิด คือ IgG, IgA, IgD, IgE และ IgM ส่วน T-lymphocyte สามารถแยกเป็น

T helper Cell หลั่งโปรตีน cytokine ไปเรียกเซลล์ชนิดต่าง ๆ มารุมกำจัดเชื้อโรค, T-suppressor cell คอยคุม ไม่ให้ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป และ NK-cell จัดการกำจัดเซลล์มะเร็งและไวรัส เป็นต้น


แนะนำวิธีอะไรบ้างที่ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานดี

เพื่อให้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เราควรใส่ใจตัวเองอย่างสม่ำเสมอใน 3 ประเด็นนี้ 


1. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละ 30 นาที จะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนลดความเครียด ทั้งยังทำให้ทุก ๆ เซลล์ได้รับออกซิเจนที่สำคัญต่อกระบวนการทำงาน เม็ดเลือดขาวก็แข็งแรงขึ้นในการต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ 

2. รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ

การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และรักษาสมดุลกรดด่างจากอาหารที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ โดยอาหารกลุ่มที่ย่อยแล้วจะมีความเป็นกรด

ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ คาร์โบไฮเดรต (แป้ง น้ำตาล) ส่วนอาหารที่เป็นด่าง ได้แก่ ไฟเบอร์ ผัก ผลไม้ ซึ่งควรรับประทานในสัดส่วนที่สมดุลกัน


3. นอนหลับให้เพียงพอ

การนอนหลับสนิทในห้องที่มืดจะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินได้ดีขึ้น และจะทำให้การสร้าง Growth Hormone ซึ่งสำคัญต่อการฟื้นฟูร่างกายทำงานได้อย่างดีเยี่ยม ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


4. โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันมีอะไรบ้าง

หากภูมิคุ้มกันมีการทำงานที่ผิดเพี้ยนไปจากปกติจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ

- โรคภูมิแพ้ มีอาการทางจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม หรืออาการทางผิวหนัง เป็นผดผื่น คัน เม็ดตุ่มคัน

- โรคหอบหืด ทำให้หลอดลมตีบตัว หายใจลำบาก แน่นหน้าอก

- โรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น SLE หรือ โรคพุ่มพวง โรคไขข้อรูมาตอยด์ ที่ทำให้ข้อกระดูกผิดรูปร่างจนอาจทำให้พิการได้

- โรคแอดดิสัน เกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวในตัวเองที่บริเวณต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นจุดที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน cortisol

ผลที่ตามมาคือ ทำให้ความดันต่ำ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย

- โรคผมร่วงเป็นกระหย่อม เกิดจากภูมิคุ้มกันไปฆ่าเซลล์รากผม เพราะคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงทำให้ผมหลุดร่วงเป็นหย่อม ๆ 


5. การฉีดวัคซีนช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อย่างไร

การฉีดวัคซีนเป็นเทคนิคการกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการจดจำเชื้อโรคแบบทางลัด กล่าวคือ เป็นการกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์สร้างแอนติบอดีออกมาอย่างจำเพาะเจาะจงต่อเชื้อโรคนั้น ๆ เมื่อเกิดการติดเชื้อนั้นซ้ำในภายหลัง แอนติบอดี้ที่สร้างไว้จะได้ออกมาจัดการกับเชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว 

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบาลรณรงค์ให้ผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อทยอยฉีดวัคซีนโดยเร็ว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ทำให้ควบคุมเชื้อไม่ให้ระบาดได้



6. การกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนต่างจากการได้รับเซรั่มอย่างไร

การฉีดวัคซีนเป็นการให้เชื้อโรคเพื่อทำหน้าที่เป็นแอนติเจนหรือสิ่งแปลกปลอมไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวผลิตแอนตี้บอดี้ที่จำเพาะเจาะจงต่อเชื้อนั้น ๆ อย่างเช่นเด็กเล็กที่ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ให้ครบ หรือการฉีดวัคซีนไวรัสโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้ แตกต่างจากการได้รับเซรั่ม ซึ่งเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบรวดเร็ว โดยเจ้าหน้าที่จะนำแอนติบอดี้ที่มีความจำเพาะต่อเชื้อโรคหนึ่ง ๆ เช่น เซรั่มพิษสุนัขบ้า เซรั่มพิษงู ฯลฯ มาฉีดให้แก่คนที่ถูกสุนัขจรจัดกัด หรือถูกงูกัดอย่างปัจจุบันทันด่วน เพื่อให้ได้รับแอนติบอดี้ไปจัดการกับเชื้อที่อยู่ในร่างกายอย่างเร็วที่สุด เพราะหากใช้วิธีวัคซีนจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ กว่าที่ร่างกายจะเกิดการผลิตแอนติบอดีได้ การฉีดเซรั่มจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแบบสำเร็จรูป



ระบบภูมิคุ้มกัน สรุปได้ว่า เราทุกคนต้องตระหนักถึงความสำคัญของการดูแล ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้แข็งแรง รวมถึงการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อประโยชน์หลายด้าน อาทิ ช่วยป้องกันโรคแก่ตนเองและไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อโรคร้ายแรงไปสู่ผู้อื่น, เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลตัวเอง รวมถึงค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุขโดยภาพรวมของประเทศ และยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคระบาดในสถานการณ์วิกฤติ เช่น ไวรัสโควิด-19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ในขณะนี้