1.รู้ว่าจะต้องเจรจาเรื่องอะไรทำไมกับใครที่ไหนเมื่อไร อย่างไรและเท่าไร (5W2H)
เป็นเรื่องของการเตรียมตัวก่อนที่จะดำเนินการเจรจาต่อรอง เป็นข้อมูลที่สำคัญในส่วนแรก เพราะเราจะไม่สามารถเจรจาต่อไปได้เลยหากขาดข้อมูลพื้นฐานส่วนนี้
2.รู้ความต้องการที่แท้จริงของคู่เจรจา
3.รู้ความความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง
4.รู้วิธีคิดหรือที่มาของความคิดของคู่เจรจา ว่าเขายืนอยู่ตรงจุดไหน
ส่วนในเรื่องที่ว่ามาทั้งหมดยังไม่สำคัญเท่าเรื่องนี้ นั่นก็คือเรื่องของความเข้าใจวิธีคิดของคู่เจรจา ว่าพื้นฐานเขาคิดมาจากเรื่องใด ยกตัวอย่างเช่น
ขอยก ตัวอย่างการต่อรอง ที่เกิด ณ ร้านขายอาหารแห่งหนึ่ง ที่นำเสนออาหารชุดสำหรับจัดเลี้ยงในราคา 20,000 บาท แต่ลูกค้าต่อรองที่ราคา 15,000 กรณีนี้ทางร้านอาจจะเสนอไปว่าราคานี้ไม่สามารถรวมการส่งอาหารและการบริการของพนักงาน หากซื้อในราคาเดิมลูกค้านอกจากจะได้รับการบริการเพิ่มแล้ว ยังสามารถได้ส่วนลดอีก 10% อีก 10 ครั้งด้วย แต่หากซื้อในราคาที่ต่อรองก็จะไม่ได้ในส่วนนี้ไป
การเจรจาในครั้งนี้ดูว่าทางร้านได้เงินเท่าเดิม ลูกค้าได้บริการเพิ่มขึ้นและยังได้รับสิทธิ์ในรูปแบบเดิมพร้อมทั้งส่วนลด 10% อีก 10ครั้ง ดูยังไงก็คุ้มกว่าส่วนลด 5,000 บาทที่ได้ ร้านค้าก็ไม่ได้เสียเงินเพิ่มทั้งยังได้ลูกค้าประจำที่จะกลับมาซื้ออีก 10 ครั้ง เพราะหากว่าลดให้ไปลูกค้าก็มีทั้งโอกาสที่กลับมาซื้อและไม่กลับมาอีกเลย เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย เพราะร้านก็ได้ลูกค้าก็ได้
5.รู้จักการเจรจา ต่อรองแบบ Win-Win หรือการต่อรองที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งมีอยู่ 5 รูปแบบดังนี้
ตัวอย่างเพิ่มเติมที่ทำให้เห็นถึงวิธีการที่จะทำให้เกิดการต่อรองแบบ Win-Win
ไม่ว่าการเจรจาแบบไหนก็ตาม ถ้าไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการต่อรองแบบ Win-Win หรือสมประโยชน์ทุกฝ่าย สุดท้ายผลการเจรจานั้นก็จะกลายมาเป็น Lose-Lose
มาดูตัวอย่างการต่อรองแบบ Lose-Lose หรือแพ้ทั้งคู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น การเจรจาในการรับคนเข้าทำงานที่ผู้สมัครงานมีคุณสมบัติตามที่บริษัทต้องการและยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ ฝ่ายบุคคลตกลงทำการรับเข้าทำงานในตำแหน่งและรายได้ต่ำกว่าที่ประกาศ เพราะเห็นว่าคน ๆ นี้กำลังตกงาน ซึ่งเขาก็จำเป็นต้องรับข้อเสนอ แต่สุดท้ายแล้วเขาก็จะมองหาโอกาสในองค์กรอื่นที่ให้คุณค่าต่อเขา ในที่สุดเขาก็ลาออกไปทำงานที่อื่น บริษัทก็ต้องสูญเสียพนักงานที่มีศักยภาพ ต้องหาคนใหม่ก็อาจจะต้องจ้างแพงกว่าเดิมมาก ผลลัพธ์ของเรื่องนี้คือแพ้ทั้งคู่
มาดูตัวอย่างการต่อรองที่เป็นการต่อรองแบบ Win-Win ที่เป็นเรื่องสมมติว่าเกิดขึ้นกับฝ่ายจัดซื้อในห้าง ๆ หนึ่ง เป็นวิธีการที่ฉีกกฎเกณฑ์ที่คนส่วนมากทำว่าต้องเจรจาให้ได้เปรียบเท่านั้น (Win-Lose) ฝ่ายจัดซื้อคนนี้ต่อรองด้วยพื้นฐานวิธีคิดว่า “ลูกค้าต้องได้รับสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด” จากผู้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสมราคา สามารถสร้างกำไรให้หน่วยงานที่ดูแลได้
การนำวิธีนี้มาใช้โดยการแจ้งให้คู่ค้าทำการเสนอราคาเท่าไรก็ได้ ซึ่งเป็นราคาที่ทำให้ห้างมีกำไร ลูกค้าพอใจราคาขาย และคู่ค้าสามารถส่งสินค้าได้ครบตามจำนวนที่สั่งซื้อ และตามกำหนดเวลา ก็จะทำให้การเจรจาต่อรองนั้นสมประโยชน์ทุกฝ่าย
การเจรจาต่อรองไม่ได้ยากเลยที่จะทำให้ผ่านได้ฉลุยทุก Job หากเรารับฟังอย่างตั้งใจ มีการใช้คำถามในเชิงสร้างสรรค์ มีพื้นฐานต่อรองแบบ Win-Win ไม่ว่าจะเจรจากับคนที่ต้องการเอาเปรียบเรา เราก็สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในทุก ๆ ครั้งได้
ที่มาข้อมูล