5 วิธีพรีเซนต์ให้เก่ง แชร์ไอเดียให้โดดเด่นด้วย PowerPoint Presentation Skills
2724 views | 19/04/2022
Copy link to clipboard
Apple W.
Content Creator

มาเรียนรู้เทคนิคการพรีเซนต์ที่ดี พร้อมกับเคล็ดลับการทำสไลด์พรีเซนต์ด้วย PowerPoint เพื่อแชร์ไอเดีย นำเสนองาน พูดหน้าชั้นให้ได้คะแนนเต็มสิบไม่หัก หากใครสามารถพัฒนารูปแบบการสื่อสารของตัวเองได้อย่างมืออาชีพและใช้เครื่องมือพรีเซนต์งานได้อย่างมั่นใจนั่นหมายความว่าเรามีพลังที่จะสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จบ



ทักษะการพรีเซนต์สำคัญอย่างไร

การสื่อสารเป็นหนึ่งในวิธีที่ผู้คนใช้เพื่อเรียนรู้ที่จะแบ่งปันเรื่องราว ความหวัง และความฝันให้แก่กันและกัน อีกทั้งยังใช้เพื่อปลดล็อกความเห็นอกเห็นใจและขอความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพที่สุด สมัยโบราณ บรรพบุรุษของเราก่อแคมป์ไฟ ล้อมวงหารือและพูดคุยกันถึงเรื่องเล่าที่ไม่สามารถเห็นภาพได้ แต่ทุกวันนี้เรามีซอฟต์แวร์ที่จะช่วยทำให้การสื่อสารของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เราสื่อสาร พูดต่อหน้าคน พูดในที่สาธารณะ เล่าเรื่องหรือพรีเซนต์ได้อย่างคล่องแคล่ว แถมยังช่วยให้คนฟังเข้าใจเนื้อหาที่เราอยากจะสื่อได้ง่าย 


หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ยืนพรีเซนต์งานหน้าห้องกับผู้บริหารแล้วขาสั่นตลอด เวลาต้องไป Pitch งานกับลูกค้ากี่ทีก็ยังไม่ค่อยมั่นใจ หรือแม้แต่ระดับผู้บริหารเองถ้าต้องพรีเซนต์กับผู้ถือหุ้นหลายคนแต่ก็ยังรู้สึกว่าทำได้ไม่ดีพอ การพรีเซนต์คือทักษะสำคัญที่ต้องฝึกฝนด้วยเทคนิควิธีการที่ถูกต้อง และไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา เจ้าของธุรกิจ หรือแม้กระทั่งแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ ทุกคนต้องใช้ทักษะการพรีเซนต์อยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะการพรีเซนต์ต่อหน้าคนอื่นดีมาตั้งแต่เกิด มาเรียนรู้วิธีฝึกทักษะการพรีเซนต์ของตัวเองให้แข็งแรงเพื่อเพิ่มโอกาสต่าง ๆ ให้ตัวเองกัน  



5 วิธีแชร์ไอเดียให้โดดเด่น พรีเซนต์ให้เก่งขึ้น



เข้าใจแก่นเรื่องและวางโครงสร้าง 

เรื่องที่เราจะเล่าต้องเป็นเหมือนของขวัญทางความคิดให้กับคนฟัง เรื่องที่จะทำให้คนฟังข้ามจากจุด A ไป B ได้ ไม่ใช่ข้ามจากจุด A ไปจุด C แล้ววกมาที่จุด B เมื่อฟังแล้วเรื่องนั้นจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้ฟังด้วย เราต้องมั่นใจที่จะเล่าเรื่องนั้น รู้สึกก่อนว่าเรื่องของเรามันเจ๋งมาก โดยนำเสนออย่างตรงประเด็น ไม่เน้นข้อมูลเยอะเกิน 



แบบฝึกหัดที่ดีอย่างหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าเราเข้าใจเรื่องที่จะเล่ามากน้อยแค่ไหนก็คือการพยายามรวบรวมแก่นเรื่องของเราให้ยาวไม่เกิน 15 คำ และทั้ง 15 คำนั้นจะต้องสื่อถึงเนื้อหาที่ชัดเจนและมีีพลัง ซึ่งต้องประกอบด้วยแก่นเรื่องที่ชัดเจน ความคิดอะไรกันแน่ที่เราต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจ พวกเขาจะได้อะไรกลับไป โดยสร้างโครงเรื่องคร่าว ๆ ที่ประกอบด้วยบทเกริ่นนำ บริบท (ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ) แนวความคิดหลัก แนวทางการประยุกต์ใช้ และบทสรุป  


  • นี่เป็นหัวข้อที่เราหลงใหลหรือเปล่า
  • สร้างแรงกระตุ้นให้สงสัยใคร่รู้ไหม
  • ถ้าผู้ฟังได้ฟังเรื่องนี้ไป ชีวิตเขาจะแตกต่างจากเดิมไหม
  • เรื่องนี้สดใหม่หรือเก่าแล้ว
  • หากจะพูดทั้งหมดให้สมบูรณ์ เราพูดได้ตามเวลาที่กำหนดไหม
  • เรามีความน่าเชื่อถือพอที่จะพูดเรื่องนี้ไหม
  • คำ 15 คำที่สรุปเรื่องที่เราจะพูดคืออะไร
  • คำ 15 คำที่สรุปเรื่องที่เราจะพูดโน้มน้าวหรือเรียกความสนใจของผู้ฟังได้ไหม 



สร้างความใกล้ชิด 

เมื่อเรารู้ประเด็นที่จะพูดแล้ว สิ่งที่สำคัญต่อมาก็คือการสร้างความใกล้ชิด สร้างสัมพันธ์กับคนฟัง เพราะคงไม่มีใครอยากจะฟังเรื่องต่าง ๆ จากคนแปลกหน้า เราต้องหาทางให้ผู้ฟังเปิดใจให้เราอย่างเป็นธรรมชาติที่สุดด้วยการเผยความเป็นมนุษย์ที่ซ่อนอยู่ในตัวของเราเองให้ผู้ฟังได้เห็น เช่น หากเราจะไปพูดขายของให้เขาฟัง เราต้องทำให้คนฟังทิ้งอคติที่มีเกี่ยวกับการขายของออกไปแล้วเต็มใจที่จะฟังเราก่อน 



วิธีที่จะทำให้คนฟังเปิดใจให้เราง่าย ๆ ก็คือ การสบตาผู้ฟังตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจว่าเราไว้ใจได้นะแล้วยิ้มอย่างเป็นธรรมชาติ ทักทายผู้คน เลือกคนฟังสองสามคนแล้วมองตาเขา ผงกศีรษะทักทายและส่งยิ้ม ปล่อยมุกดี ๆ สักมุกให้คนฟังขำตามได้ก็จะยิ่งได้ใจคนฟังให้เปิดใจให้เราอย่างหมดเปลือก


สิ่งที่ไม่ควรทำ

  • มุกลามก หยาบคาย 
  • กลอนหรือบทกวีที่ดูเหมือนจะตลก
  • มุกตลกที่พยายามเล่นคำพ้องความหมาย
  • การประชดประชัน
  • พยายามจะสร้างเรื่องขำขันเกี่ยวกับเชื้อชาติ อัตลักษณ์ทางเพศ การเมือง (ถ้าเป็นคนนอก ห้ามเล่นเด็ดขาด) 



ฝึกซ้อมพูดต่อหน้าคนที่เราไว้ใจ

ฝึกซ้อมการพูดของเราต่อหน้าคนอื่น โดยเป้าหมายของการซ้อมพูดไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจำทั้งหมดได้ไหม แต่มันอยู่ที่ว่ามันทำให้เรามั่นใจและตื่นเต้นน้อยลงหรือเปล่า ถ้าหากเราซ้อมพูดบ่อย ๆ จนเราเชื่อมั่นในตัวเองว่าพูดได้อย่างคล่องแคล่วและรู้สึกมั่นใจได้แล้ว คนฟังก็จะรู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน คำถามต่อมาก็คือเราควรจะไปซ้อมกับใครและที่ไหน ?



แนะนำให้เราไปซ้อมพูดกับคนที่เข้าใจเรื่องที่เราจะพูดจริง ๆ หรือคนที่เราไว้ใจ ฝึกซ้อมจนมั่นใจภายในเวลาที่กำหนด และขอความคิดเห็นที่จริงใจจากคนฟัง เราอาจเรียกเพื่อนร่วมงาน เพื่อนสนิทที่ทำงานสายนั้น ๆ มานั่งฟังโดยเราต้องก้าวออกมาพูดข้างหน้าพวกเขาจำลองว่านั่นคือเวทีจริง ๆ แล้วพูดออกไปเต็มเสียง อาจขอให้เพื่อนอัดวิดีโอไว้เพื่อที่เราจะได้เช็กตัวเองภายหลัง


  • เราดึงดูดความสนใจของคนฟังได้ตั้งแต่แรกไหม
  • เราสบตาคนฟังไหมระหว่างที่พูด
  • พอฟังแล้วเขารู้สึกถึงความแปลกใหม่ไหม
  • มีตัวอย่างมากพอเพื่อขยายความให้เข้าใจไหม
  • น้ำเสียงน่าฟังไหม ฟังเหมือนกำลังชวนคุยหรือสั่งสอน
  • เราพูดเหมือนกำลังท่องหรือเปล่า
  • เราพยายามพูดให้ตลกหรือเป็นธรรมชาติ
  • ภาษาท่าทางของเราเป็นธรรมชาติไหม 
  • มีช่วงไหนที่เราพูดแล้วน่าเบื่อ ไม่เข้าใจ หรือพูดเร็วไปไหม 



ฝึกคุมความประหม่า

ความประหม่าแน่นอนว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ แม้ว่าเราจะตั้งใจฝึกซ้อมมามากแค่ไหนก็ตาม พอถึงวันที่จะต้องพูดพรีเซนต์ต่อหน้าคนที่มาในงาน คนในที่ทำงาน หรือหน้าชั้นเรียน ความประหม่า ตื่นเต้นย่อมมีบ้าง ทั้งนี้เราจะต้องรู้จักวิธีควบคุมความประหม่าของตัวเองให้ได้ ขั้นแรกให้เราบอกตัวเองทุกครั้งว่าเรื่องที่เราจะพูดนี้สำคัญมากนะและเราทำได้



ก่อนที่จะพูดต่อหน้าคนอื่นให้เราเผาพลาญพลังงานไล่ความตื่นเต้นด้วยการออกกำลังกายเพื่อลดระดับอะดรีนาลีน เช่น วิดพื้น วิ่ง เดินเล่นสัก 10 นาทีก่อนขึ้นพูดก็ได้ แล้วอย่าลืมดื่มน้ำก่อนพูด และกินอาหารที่ดี หรือขนมอัดแท่งโปรตีนสูงที่เป็นอาหารต้านความกังวลได้ดี เพราะเมื่อเรากังวลปากเราอาจแห้งได้ การอดข้าวหรืออดน้ำจะยิ่งเพิ่มความกังวลให้เราขึ้นไปอีก 


  • ใช้ความกลัวเป็นแรงจูงใจ มั่นฝึกซ้อมจนคล่อง
  • ให้ร่างกายเป็นตัวช่วย ออกกำลังกายใช้แรงลดความตึงเครียด
  • ดื่มน้ำก่อนพูดช่วง 5 นาทีก่อนที่จะขึ้นพูด
  • สารภาพไปเลยว่าคุณตื่นเต้น มันจะช่วยให้หายประหม่าได้
  • จดจ่อกับสิ่งที่จะพูดว่านี่คือสิ่งสำคัญแค่ไหน 



ใช้ PowerPoint ช่วย 

การที่เราจะพูดโดยไม่มีเครื่องมือที่จะช่วยให้คนฟังเห็นภาพนั้นเป็นวิธีที่เสี่ยงจะล่มมาก เพราะคนเราชอบดูภาพ ชอบเห็นภาพของสิ่งที่พูดเพราะสิ่งที่ตามองเห็นมีความสำคัญมาก ลำพังแค่เพียงการฟังอย่างเดียวทำให้คนเราจำได้ประมาณ 10% หลังจากผ่านไป 3 วัน แต่ถ้าเพิ่มภาพ แผนภูมิ หรือว่ากราฟเข้ามาด้วยก็จะทำให้อัตราการจดจำเพิ่มเป็น 65% เพิ่มขึ้นตั้ง 6 เท่า ! 



การสร้างสไลด์ควรเน้นให้เป็นไปตามสไตล์ Keep it simple อย่าทำให้วุ่นวาย ตัวหนังสือ ลูกเล่น สีสัน อย่าเยอะเกินไป โดย PowerPoint เป็น basic software ที่ใช้งานไม่ยาก แถมยังเป็นสกิลสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทักษะการนำเสนอของเราให้อัปเกรดขึ้นไปอีก ช่วยให้คนฟังเข้าใจไอเดียที่เราอยากนำเสนอ เห็นภาพใหญ่ของโปรเจกต์ที่เราอยากขาย และยังทำให้เข้าใจสิ่งที่เราจะพูดด้วยภาพแค่ไม่กี่ภาพได้อีกด้วย 


  • ใช้ Typeface แบบเดียวทั้งสไลด์
  • ใช้ตัวหนังสือใหญ่ ๆ 24 point ขึ้นไป ไม่เกิน 3 ขนาด
  • โชว์รูปแบบไร้ขอบ บนพื้นหลังสีทึบ
  • ตัดสีตัวหนังสือกับพื้นหลังให้ไม่กลืนกัน
  • เลี่ยงการขีดเส้นใต้และตัวเอียง
  • ให้เครดิตภาพด้วยแต่อย่าใส่ใหญ่มากจนเด่น



หากใครสนใจเรียนรู้วิธีการออกแบบ PowerPoint อย่างมืออาชีพ ขอแนะนำคอร์ส ‘Shortcut PowerPoint​ Design’ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำเสนอให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้วิธีการใช้งานโปรแกรม PowerPoint ระดับกลางที่จะทำให้งานดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เข้าใจเทคนิคการทำ PowerPoint Infographic เทคนิคการออกแบบงาน Presentation ให้ดูสวย น่าสนใจ อ่านข้อมูลง่าย เทคนิคทำงานและออกแบบ Presentation อย่างมืออาชีพจากประสบการณ์ตรง 



อย่ารอช้า ! มาเรียนรู้การออกแบบงานนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft Office ให้น่าสนใจอย่างมืออาชีพ ช่วยให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม คลิกที่นี่


ที่มาข้อมูล

  • CHRISANDERSON.(2560).TEDtalks:theofficialTEDguidetopublicspeaking.แปลจากTEDtalks:theofficialTEDguidetopublicspeaking.แปลโดยทิพย์นภาหวนสุริยา.กรุงเทพฯ:โอเพ่นเวิลด์สพับลิชชิ่งเฮาส์