วิดีโอ (Video) ยังคงครองแชมป์คอนเทนต์ที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุด ในปี 2020 ที่ผ่านมา 96% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตนิยมดูวิดีโอมากขึ้น แถม 9 ใน 10 ของผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตยังบอกอีกด้วยว่า พวกเขาต้องการให้แบรนด์ต่าง ๆ รวมถึงธุรกิจต่าง ๆ ทำวิดีโอเพื่อโฆษณาสินค้า โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2022 คนทั่วไปจะใช้เวลาดูวิดีโอขยับขึ้นมาเป็น 100 นาทีต่อวัน
ปี 2022 วิดีโอจะกินสัดส่วนมากถึง 82% ของการใช้งานอินเทอร์เน็ต (Internet Traffic) เรียกว่าเพิ่มขึ้น 15 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2017
เว็บไซต์ Cisco ได้ทำการสำรวจและพบว่าในปี 2022 วิดีโอจะกินสัดส่วนมากถึง 82% ของการใช้งานอินเทอร์เน็ต (Internet Traffic) เรียกว่าเพิ่มขึ้น 15 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2017 ไม่ต้องพูดถึงสินค้าหรือบริการในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินใจซื้อหลังจากดูวิดีโอมากกว่าบล็อกอยู่แล้ว จึงเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าคอนเทนต์วิดีโอยังคงเป็นสิ่งที่ไปได้อีกไกล
การมาของวิดีโอคอนเทนต์จึงตามมาด้วย ‘โอกาส’ ของนักอยากจะเป็นครีเอเตอร์ ที่ต้องการสร้างสรรค์วิดีโอลงแพลตฟอร์มชื่อดังต่าง ๆ เช่น TikTok, Instagram, YouTube และ Facebook เพื่อความสนุกไปจนถึงต้องการสร้างรายได้ด้วยวิดีโอ แต่การจะสร้างสรรค์วิดีโอนั้นต้องอาศัยทักษะการตัดต่อวิดีโอร่วมด้วย ทั้งนี้สำหรับผู้ที่อยากลองทำวิดีโอง่าย ๆ ดูก่อน การตัดต่อวิดีโอในมือถือให้คล่องจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้น ซึ่งปัจจุบันก็มีแอปพลิเคชันมากมายให้ดาวน์โหลดฟรี ไม่มีลายน้ำ ลูกเล่น Effect เยอะ มีเพลงฟรีเพียบ ใช้งานง่าย ๆ แถมฟรีเทมเพลตพร้อมใช้งาน ดังนี้ (สนใจอ่านเกี่ยวกับแอปตัดต่อวิดีโอในมือถือเพิ่มเติมได้ ที่นี่)
นอกจากแอปตัดต่อวิดีโอพร้อมใช้แล้ว เคล็ดลับการตัดต่อก็สำคัญไม่แพ้กัน หากอยากให้วิดีโอของเราโดดเด่นจากบรรดาวิดีโอทั้งหลายในหมวดเดียวกัน การถ่ายวิดีโอให้สวยก็คงยังไม่พอ องค์ประกอบสำคัญ ๆ ในการทำวิดีโออย่างการใช้เครื่องมือ Keywords การกำหนดขนาดวิดีโอให้เหมาะกับโซเชียลมีเดียแต่ละแพลตฟอร์ม รวมไปถึงการทำไฮไลท์วิดีโอ 30 วินาทีแรกเพื่อดึงดูดคนดูให้อยู่หมัดก็สำคัญไม่แพ้กัน
เทคนิคลับ ๆ ในการคิดและสร้างสรรค์วิดีโออันดับแรกเลยก็คือ คีย์เวิร์ด หรือว่าคำค้นหาที่คนส่วนใหญ่ใช้เสิร์ชมากที่สุด เนื่องจากคนจะมาเจอวิดีโอเราจากคีย์เวิร์ดหรือคำค้นหา วิธีการก็คือให้เราเอาคำที่เราสนใจจะทำวิดีโอไปเสิร์ชใน Google, YouTube หรือ Facebook แล้วเช็กดูว่าคนส่วนใหญ่เขานิยมใช้คำไหน และเอาคำนั้นมาทำเป็นเนื้อหาของวิดีโอ หรือจะเอามาตั้งเป็นชื่อคลิปวิดีโอก็ได้
วิธีนี้ก็จะทำให้วิดีโอของเราเข้าถึงผู้คนได้มากกว่า หากมีคนสนใจเยอะมากอยู่แล้ว เราก็อาจจะทำวิดีโอเกี่ยวกับเรื่องนั้น หรือเก็บไปเป็นไอเดีย เอาไว้ใส่แฮชแท็กก็ได้ (ศึกษาเกี่ยวกับแฮชแท็กฮิต ๆ สำหรับ YouTube ได้ ที่นี่) หรืออีกวิธีหนึ่งสำหรับคนที่อยากลองใช้เครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดแบบมืออาชีพด้วยการสมัคร Google Ads แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายสำหรับใช้งานด้วย
ขนาดของวิดีโอและเวลาที่เหมาะกับสื่อแต่ละโซเชียลมีเดียก็สำคัญไม่แพ้กัน เราต้องทำขนาดของวิดีโอให้เหมาะกับโซเชียลมีเดียนั้น ๆ เพราะรูปแบบของแต่ละโซเชียลมีเดียไม่เหมือนกัน บางโซเชียลมีเดียเหมาะที่จะทำวิดีโอแนวนอน บางโซเชียลมีเดียเหมาะที่จะทำวิดีโอแนวตั้ง หากเราไปทำขนาดวิดีโอไม่เหมาะสมกับสื่อโซเชียลที่จะนำไปเผยแพร่ วิดีโอของเราก็อาจจะถูกปัดผ่านไม่มีใครกดเข้ามาดูเลยตั้งแต่แรก
นอกจากนี้เวลาที่เหมาะสมกับแต่ละโซเชียลก็ต้องทำให้พอดี ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปอีกด้วย เพราะพฤติกรรมของผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียของแต่ละแพลตฟอร์มจะไม่เหมือนกัน บางโซเชียลมีเดียจะเหมาะกับการทำวิดีโอยาว ๆ 10 นาทีขึ้นไป แต่ว่าบางโซเชียลมีเดียคนชอบดูวิดีโอสั้น เป็นต้น
การใส่ไฮไลท์วิดีโอไว้ที่ต้นคลิปเพื่อเกริ่นให้รู้ว่าวิดีโอเกี่ยวกับอะไรก่อนเข้าเนื้อหา เพื่อดึงดูดให้คนดูไม่กดข้าม และชมวิดีโอของเราจนจบ วิธีการก็คือให้นำเอาช่วงคลิปที่เป็นผลสำเร็จมาไว้หน้าวิดีโอ เช่น เราจะทำวิดีโอสอนทำอาหาร ก็ให้เอาคลิปอาหารที่ทำเสร็จแล้วสวย ๆ ตัดมาไว้ที่ไฮไลท์ 30 วินาทีแรก บวกกับการพูดอธิบายไปด้วยว่าทำไมเขาต้องดูคลิปเรา ถ้าดูคลิปวิดีโอของเราแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในทางที่ดีเพื่อให้ผู้ชมอยู่ดูจนจบคลิป
สิ่งที่ต้องเตรียมก็คือ คลิปวิดีโอ 2 - 3 คลิป เลือกช่วงที่เป็นช่วงสำคัญ คิดว่าน่าจะดึงดูดคนดูได้ให้มาอยู่ด้านหน้าสุดของวิดีโอ เพราะเทคนิคไฮไลท์วิดีโอนี้เปรียบเสมือนตัวอย่างหนังหรือ Trailer ที่คนได้ดูแล้วจะต้องอยากดูต่อจนจบนั่นเอง
คนเราไม่สามารถจดจ่อหรือจ้องดูอะไรได้นาน ๆ เพราะด้วยธรรมชาติของมนุษย์มักอยู่ไม่นิ่ง ยิ่งเป็นสื่อวิดีโอ เอนเตอร์เทนด้วยแล้วก็ยิ่งเป็นไปได้ยาก หรือที่เราเรียกว่า Uncut Video ที่เราจะดูได้ซักพักก็จะรู้สึกเบื่อหรือง่วงนอน หากไม่ได้เป็นคนที่ชอบวิดีโอเรียบ ๆ นิ่ง ๆ เป็นทุนเดิมรับรองว่าหลับแน่นอน
ดังนั้นความยาวของคลิปวิดีโอในแต่ละช็อตที่จะนำมาต่อกัน เราไม่ควรจะตัดต่อวิดีโอในแต่ละช็อตให้ยาวเกินไป ควรจะตัดต่อวีดีโอจากการถ่ายวิดีโอหลาย ๆ มุม เช่น normal view + bird eye view + worm's-eye view และใช้รูปแบบการถ่ายหลาย ๆ รูปแบบ เช่น wide shot + medium shot + close up ผสมผสานกันไป เวลาตัดต่อวีดีโอก็ตัดสลับไปมาระหว่างช็อตต่าง ๆ เหมือนกำลังเล่นกับคนดู
เนื่องจากเราใช้มือถือในการถ่ายวิดีโอ การรับรู้แสงของกล้องมือถือจะไม่เหมือนกล้องวีดีโอสมัยใหม่ที่จะมีโหมดการปรับแสงอัตโนมัติ ถ้ามีแสงสว่างมากเกินไปก็จะมีการเปิดรูรับแสงให้เล็กลง หรือถ้ามีแสงไม่เพียงพอก็จะมีการเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น ดังนั้นการถ่ายวิดีโอด้วยมือถือเราจึงต้องรู้ทันแสงในแต่ละช่วงเวลา
แสงธรรมชาติถือเป็นแสงที่สวยที่สุดในการถ่ายวิดีโอค่ะ ควรหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์เพื่อช่วยเพิ่มความสว่าง ไม่ควรหันหลังให้พระอาทิตย์เพราะจะทำให้ภาพย้อนแสง มืด ทำให้จัดแสงยาก แต่งสีวิดีโอก็ยาก นอกเสียว่าอยากถ่ายแบบอาร์ต ๆ การถ่ายวิดีโอให้แสงออกมาสวยควรเลือกถ่ายตอนเช้าหรือตอนเย็น เพราะจะได้แสงที่สวยที่สุด
หากใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อยากลองสร้างสรรค์คลิปวีดีโอด้วยมือถือ ขอแนะนำ ‘คอร์สตัดต่อวิดีโอด้วยมือถือเครื่องเดียว’ ที่สรุปขั้นตอนพร้อมเทคนิคลับ ใช้เวลาเรียนไม่นาน การันตีทำได้ 100% ผ่านแอปพลิเคชัน KineMaster รวมไปถึงการแต่งรูปและทำปกคลิปด้วยมือถือ ผู้เรียนสามารถสร้างคลิปวิดีโอเพื่อใช้งานหรือลงสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว สนใจ คลิกที่นี่
ที่มาข้อมูล