Subject-Verb Agreement กฎเหล็กแกรมม่าภาษาอังกฤษ ช่วยพิชิตคะแนนสอบโทอิค
6262 views | 28/04/2022
Copy link to clipboard
Nong Tanakorn
Content Creator

แม้การสอบ TOEIC จะมี 2 พาร์ท Listening ที่เน้นการฟัง และ Reading ที่เน้นการอ่าน แต่หนีไม่พ้นที่จะมีเรื่องราวของแกรมม่าภาษาอังกฤษซ่อนอยู่ และหนึ่งในแกรมม่าสำคัญซึ่งถือเป็นกฎเหล็กของภาษาอังกฤษที่ต้องรู้เลยก็คือเรื่อง Subject-Verb Agreement หรือ กฎการใช้กริยากับประธานให้ถูกต้องและสอดคล้องกัน ซึ่งหากเข้าใจกฎนี้อย่างถ่องแท้ รับรองว่าคะแนนสอบโทอิคพุ่งทะลุ 800 ชัวร์!



Subject-Verb Agreement คืออะไร?

โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษมีองค์ประกอบหลักคือ Subject (ประธาน), Verb (กริยา) และ Object (กรรม) ดังนั้นตามกฎแกรมม่า Subject-Verb Agreement คือ การใช้คำกริยาให้สอดคล้องกับประธานของประโยค โดยมีหลักการดังนี้


1. ใน Present Simple Tense เมื่อประธานเอกพจน์ กริยาต้องเป็นเอกพจน์ โดยเติม s/es 

  ex. Lisa speaks English very well.

    (เธอพูดภาษาอังกฤษเก่งมาก)


  ประธานพหูพจน์ กริยาต้องเป็นพหูพจน์ด้วยโดยคงรูปเดิม

  ex. The dogs bark at the cat.

    (พวกสุนัขเห่าแมว)


2. ประธาน 2 ตัว เชื่อมด้วย and ถือเป็นพหูพจน์ กริยาก็นับเป็นพหูพจน์ด้วย

  ex. Bum and I work until 7:00 p.m. each day.

    (บุ๋มและฉันทำงานจนกระทั่งถึงหนึ่งทุ่มในแต่ละวัน) 


  ex. Sugar and Fish sauce are needed for the Thai recipe.

    (น้ำตาลและน้ำปลาจำเป็นสำหรับสูตรอาหารไทย) 


3. ประธาน 2 ตัวเชื่อมด้วย and แต่นับเป็นสิ่งเดียวกัน ถือว่าเป็นเอกพจน์ กริยาก็เป็นเอกพจน์

  ex. Rice and omelet is my favorite breakfast.

    (ข้าวและไข่เจียวเป็นอาหารเช้าสุดโปรดของฉัน) *ข้าวและไข่เจียววางอยู่ในจานเดียวกันนับเป็นของชิ้นเดียวกัน 


4. ประธานที่มีคำนามมากกว่าหนึ่งเชื่อมด้วย and ถ้าเป็นคนหรือสิ่งเดียวกันใช้ article ที่ประธานตัวหน้าเท่านั้น 

  ex. The manager and owner of this restaurant is my brother.

     (ผู้จัดการและเจ้าของร้านนี้เป็นพี่ชายของฉัน)  


ข้อควรระวัง!! ถ้าเป็นคนละคนหรือคนละสิ่งต้องใส่ article ที่หน้าคำนามทั้งสองคำ เช่น The manager and the owner of this restaurant are my brothers. (ผู้จัดการและเจ้าของร้านนี้ต่างก็เป็นพี่ชายของฉัน) *ผู้จัดการและเจ้าของร้านเป็นคนละคน


5. ประธานที่มีคำขยายหรือวลีดังต่อไปนี้ต่อท้าย กริยาจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ให้ยึดประธานหรือคำนามที่อยู่ข้างหน้าเป็นหลัก

  accompanied by (พร้อมด้วย)  

  along with (พร้อมด้วย)  

  as well as (เช่นเดียวกับ, และ)  

  besides (นอกจาก)        

  but (ยกเว้น)              

  except (ยกเว้น)    

  excluding (ไม่นับ)              

  in addition to (นอกจาก)  

  in company with (พร้อมด้วย)     

  including (รวมทั้ง)  

  together with (พร้อมด้วย)  

  ex. Ploy as well as her parents is going to Europe.

     (พลอยและพ่อแม่ของเธอกำลังจะไปยุโรป)


6. ประโยคหรือวลีที่ขยายประธาน ไม่มีผลต่อการใช้กริยาของประธาน

  ex. Zico, with all his players, was on the field.

     (ซิโก้กับนักเตะของเขาอยู่ในสนาม)


7. คำต่อไปนี้เมื่อเป็นประธานให้ถือเป็นเอกพจน์ กริยาก็เป็นเอกพจน์เสมอ

  anybody   everybody   somebody

  anyone    everyone    someone

  anything   everything   something

  anywhere  everywhere  somewhere

  each + singular N.    either + singular N.    neither + singular N.

  each of + Plural N.    either of + Plural N.   neither of + plural N. 


  ex. Everyone is in the room.

     (ทุกคนอยู่ในห้อง)  


  ex. Someone in the office likes you.

     (บางคนในที่ทำงานแอบชอบคุณ)


8. ประธานที่เชื่อมด้วย or, either....or, neither... nor, not only......but also กริยาให้ถือตามประธานตัวหลัง  

  ex. Neither Phitha nor Parina likes fish.

     (ไม่ว่าจะพิธาหรือปารีณาก็ไม่ชอบปลา)


  ex. Not only Bam but also his friends are coming to the party tonight.

     (ไม่ใช่แต่แบมเท่านั้น แต่เพื่อน ๆ ของเขากำลังจะมาปาร์ตี้คืนนี้ด้วยเช่นกัน) 


** หมายเหตุ กรณีมีประธาน 2 ตัว มักให้ประธานที่เป็นพหูพจน์ไว้ข้างหลัง



9. คำต่อไปนี้ถ้าใช้แทนคำนามนับได้ ให้ถือเป็นพหูพจน์เสมอ

  all both     (a) few  many  several    some 

  ex. All were ready to leave the party by midnight.

    (ทุกคนพร้อมออกจากงานปาร์ตี้ตอนเที่ยงคืน)


10. ‘There’ และ ‘Here’ ที่ขึ้นต้นประโยคไม่ใช่ประธาน แต่จะเจอประธานหลังคำเหล่านี้ในประโยคเสมอ

   ex. There are books in my bag.

     (มีหนังสืออยู่ในกระเป๋าของฉัน) *are สอดคล้องกับ books ซึ่งเป็นประธานของประโยค


11. คำนามบางคำอยู่ในรูปพหูพจน์ให้ถือเป็นเอกพจน์ กริยาต้องเป็นเอกพจน์ เช่น

  mumps, home economics, social studies economics, measles, calisthenics, statistics, civics, physics, gymnastics, phonics, news, acrobatics, aesthetics, thesis, mathematics

  ex. Mathematics is an easy subject for some people.

     (คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับบางคน) 


12. การใช้วลีบอกปริมาณ มีหลักดังนี้

  12.1. วลีบอกปริมาณต่อไปนี้ถ้าตามด้วยนามเอกพจน์ กริยาต้องเป็นเอกพจน์ ถ้าตามด้วยนามพหูพจน์กริยาต้องเป็นพหูพจน์

      a lot of       plenty of     most of     some of

      lots of all of   none of      percent of


      ex. Some of my jewelry is missing.

        (เครื่องประดับบางชิ้นของฉันหายไป)  


      ex. Most of my friends live in Milan.

        (เพื่อนของฉันส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่มิลาน)


  12.2. วลีบอกปริมาณต่อไปนี้ใช้กับคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ และกริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์ เช่น

      a number of       many

      a large number of      a good many

      a great number of      a great many


      ex. A number of students were studying very hard in the classroom even after school.

        (นักเรียนจำนวนมากกำลังเรียนอย่างคร่ำเคร่งในห้องเรียนแม้จะเป็นหลังโรงเรียนเลิกแล้วก็ตาม)  


  12.3. วลีบอกปริมาณต่อไปนี้ เมื่อใช้กับนามนับไม่ได้ กริยาต้องใช้รูปเอกพจน์ตลอดไป เช่น

      much           a large number of

      a great deal of    a large amount of

      a good deal of    a large quantity of


      ex. A large amount of money was stolen from the bank.

        (เงินจำนวนมากถูกขโมยไปจากธนาคาร) 


13. ประโยคที่มี who, which, that เป็น Relative Pronoun กริยาของ Relative Pronoun จะใช้รูปของเอกพจน์หรือพหูพจน์ให้ถือตามคำที่แทนอยู่ข้างหน้า who, which, that 

   ex. There is a boy who is running in the park.

      (มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งคนที่กำลังวิ่งอยู่ในสวน) *who = a boy 


   ex. No houses that were made of wood survived the fire.

     (ไม่มีบ้านสักหลังที่สร้างจากไม้แล้วจะรอดจากไฟไหม้ได้) *that = houses


14. ประธานที่ขึ้นต้นด้วยวลีที่นำหน้าด้วย to (Infinitive Phrase) หรือ gerund (V.ing) ถือว่าเป็นเอกพจน์ กริยาต้องเป็นรูปเอกพจน์ 

   ex. To study English is fun.

   ex. Studying English is fun.


15. ประธานที่เป็นจำนวนเงิน, มาตราต่าง ๆ และช่วงเวลา ถือเป็นเอกพจน์ กริยาจึงเป็นเอกพจน์

   ex. Twenty million bahts is too high for this house.

     (ยี่สิบล้านบาทมันแพงเกินไปสำหรับบ้านหลังนี้) 


  ex. Ten years is a long time to wait.

     (สิบปีเป็นเวลาที่ยาวนานสำหรับการรอคอย)  


  ex. Sixty-five miles is all we have left to drive.

     (หกสิบห้าไมล์คือระยะทั้งหมดที่พวกเราเหลือในการขับรถ)


16. ประธานที่เป็นเศษส่วนของคำนามพหูพจน์ กริยาจะเป็นพหูพจน์ และประธานที่เป็นเศษส่วนของคำนามเอกพจน์ กริยาจะเป็นเอกพจน์

   ex. Two-thirds of the boys are playing football.

     (สองส่วนสามของเหล่าเด็กผู้ชายกำลังเล่นฟุตบอล) 


   ex. One-third of the cheese is moldy.

     (หนึ่งส่วนสามของชี้สขึ้นรา) 


17. ชื่อหนังสือ, บทความ, หนัง และเพลง เป็นเอกพจน์เสมอ

   ex. The Little Prince was my favorite book as a child. 

     (เจ้าชายน้อยคือหนังสือเล่มโปรดของฉันตอนเด็ก ๆ) 

ที่มาข้อมูล

  • https://www.trueplookpanya.com/knowledge/language/english
  • https://www.eslbuzz.com/
  • http://blog.writeathome.com/