Participles คือ คำกริยาที่ใช้เป็นคำคุณศัพท์, Gerund หรือใช้ใน continuous tenses และ perfect tenses มี 2 รูป คือ Present Participle (V.ing) และ Past Participle (V.3) โดยแต่ละรูปแบบมีการใช้งานและแตกต่างกันดังต่อไปนี้
Past Participle คืออะไร?
Past Participle คือ กริยาช่อง 3 ใช้ใน perfect tenses ทั้งหมดและ passive voice รวมถึงยังทำหน้าที่เหมือนเป็น adjective ด้วย
หลักการใช้ Past Participle
1. ใช้ใน Perfect Tenses โดยวางไว้หลังกริยาช่วย have/has
ex. I have lived here since I was born. (Present perfect)
(ฉันอาศัยอยู่ที่นี่ตั้งแต่ฉันเกิด)
ex. When they arrived I had already started cooking. (Past perfect)
(เมื่อพวกเขามาถึง ฉันก็เริ่มทำอาหารพอดี)
ex. The meeting will have started by the time you get there. (Future perfect)
(การประชุมจะเริ่มต้นขึ้นในตอนที่คุณไปถึงที่นั่น)
2. ใช้สร้างประโยค Passive Voice โดยวางไว้หลัง Verb to be เพื่อแสดงว่าประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
ex. The letter was given to me by her.
(จดหมายถูกให้แก่ฉันโดยเธอ)
ex. The TV show has been watched by many people.
(รายการทีวีถูกดูโดยผู้คนจำนวนมาก)
3. ทำหน้าที่เป็น adjective โดยวางไว้หน้าคำนาม
ex. The broken window was replaced.
(หน้าต่างที่พังถูกนำมาไว้ที่เดิม)
ex. The tired student fell asleep while writing in his journal.
(นักเรียนที่เหนื่อยล้าผล็อยหลับไปขณะกำลังเขียนบทความของเขา)
Present Participle คืออะไร?
Present Participle คือ กริยาเติม -ing ที่มีความหมายว่า กริยานั้นกำลังดำเนินอยู่ โดยคำว่า Present Participle ไม่ได้หมายถึง present time (เวลาปัจจุบัน) แต่เป็นเพียงชื่อเรียกเท่านั้น
หลักการใช้ Present Participle
1. ใช้ประกอบประโยคใน Continuous Tense ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยตามหลัง Verb to be
ex. Mark is reading a book.
(มาร์กกำลังอ่านหนังสือ)
ex. They are going to Tokyo on Friday.
(พวกเขากำลังจะไปโตเกียวในวันศุกร์นี้)
2. Present Participle ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์ (adjective) แบ่งการใช้งานได้ 2 แบบ คือ
2.1. ใช้ขยายคำนาม โดยจะวางไว้ข้างหน้านาม
ex. That is an exciting movie.
(นั่นเป็นภาพยนตร์ที่น่าตื่นเต้น)
ex. I read an interesting book yesterday.
(เมื่อวานฉันอ่านหนังสือที่น่าสนใจ)
2.2. ใช้เป็นส่วนเติมเต็มของคำกริยา
ex. This Korean drama was very boring.
(ละครเกาหลีเรื่องนี่น่าเบื่อมาก)
ex. My job is really tiring.
(งานของฉันมันน่าเหนื่อยหน่ายจริง ๆ)
3. ใช้ Present Participle ตามหลังคำกริยาแสดงการรับรู้ เช่น feel, hear, see, smell, watch, want, get, like, notice… เป็นต้น
โครงสร้าง Subject + pattern verb + Object + participle หมายถึง กริยาหรือการกระทำนั้นกำลังดำเนินอยู่
ex. I saw the child standing in the middle of the road.
(ฉันเห็นเด็กกำลังยืนอยู่กลางถนน)
ex. I heard my sister singing in the bathroom.
(ฉันได้ยินน้องสาวของฉันกำลังร้องเพลงในห้องน้ำ)
4. Present Participle ทำหน้าที่คล้าย Adjective Clause (ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือน adjective ใช้ขยายคำนามหรือสรรพนามของประโยคหลัก) ซึ่งจะช่วยลดรูป Adjective Clause
ex. The woman standing at the gate is my wife.
(ผู้หญิงที่กำลังยืนอยู่ตรงประตูทางออกคือภรรยาของผม)
ประโยคเต็มคือ The woman who is standing at the gate is my wife. โดย who is standing at the gate คือ Adjective Clause ที่ขยายประธาน The woman (noun)
5. Present Participle ทำหน้าที่คล้าย Adverb Clause (ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือน adverb ใช้ขยายกริยา) ซึ่งจะช่วยรวมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกัน
ex. He heard the door open while he was watching TV.
= Watching TV, he heard the door open. (ขณะกำลังดูทีวี เขาได้ยินประตูเปิด)
ที่มาข้อมูล