Dan Gilbert นักธุรกิจและนักลงทุน เริ่มต้น TED Talks ของเขาด้วยข้อเท็จจริงที่น่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้ฟังในทันทีที่เริ่มพูด ที่เขาเริ่มด้วยข้อเท็จจริงเพราะมันจะทำให้ผู้ฟังมุ่งความสนใจมาที่เขาในทันที และข้อเท็จจริงที่นำเสนอก็มีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อด้วย การพูดด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกมีส่วนร่วม และยังประหยัดเวลาไปอีกด้วย เพราะ TED Talks กำหนดให้พูดได้ไม่เกิน 18 นาที ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญในการพูดจึงสำคัญมาก ซึ่งคุณสามารถนำวิธีนี้ไปปรับใช้กับการนำเสนอได้
อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้การนำเสนอ TED Talks ของ Dan Gilbert น่าฟังก็คือการใช้รูปภาพ เขาแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่น่าสนใจด้วยภาพกราฟิกที่ไม่เพียงแต่สนับสนุนข้อมูลที่นำเสนอเท่านั้น แต่ยังสร้างการตอบสนองทางอารมณ์จากผู้ฟังด้วย เพราะภาพที่เขาเลือกใช้มักสวยงาม สะดุดตา และมีความหมาย ดังนั้นคุณควรเลือกใช้รูปภาพที่ดีเพื่อให้สไลด์น่าดูและช่วยให้การนำเสนอน่าฟังมากขึ้น
ในการบรรยายของ Ken Robinson เขาต้องก้าวข้ามอุปสรรคมากมายเพราะเขาเป็นนักวิชาการ ผู้ฟังหลายคนก็อาจคิดทันทีว่าพวกเขาจะต้องมานั่งฟังการบรรยายที่น่าเบื่อ แต่ Ken กลับลดอุปสรรคด้วยการใช้อารมณ์ขันล้อเล่นเกี่ยวกับตัวเองและนักวิชาการทั่วไป ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลายและเป็นกันมากขึ้น ทั้งยังช่วยนำไปสู่การเปิดใจที่จะฟังด้วย
นอกจากนี้สิ่งที่ Ken Robinson ทำเพื่อให้ข้อความของเขาโดนใจผู้ฟังก็คือ การเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวกับประสบการณ์ของผู้ฟัง การมีประสบการณ์ร่วมกันจะทำให้ผู้พูดเข้าถึงได้ง่าย และช่วยให้ผู้ฟังประเมินความเกี่ยวข้องของสิ่งที่เราพูดได้ทันที
TED Talks ของ Dr.Jill Bolte-Taylor นักประสาทวิทยา ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดี หากคุณต้องนำเสนอข้อมูลซับซ้อนและมีเวลาเพียง 18 นาที คุณต้องมั่นใจว่าทุกสิ่งที่จะพูดนั้นจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ดี ซึ่งการนำเสนอของ Dr.Jill ก็ไม่ได้เตรียมตัวมาในชั่วข้ามคืน แต่เธอซ้อมการนำเสนอนี้ประมาณ 200 ครั้ง และผลลัพธ์ก็คุ้มค่ากับความพยายาม หากการพูดในที่สาธารณะไม่ใช่ทักษะที่คุณเก่ง การฝึกมากเท่าที่ต้องการไม่ใช่เรื่องผิด เพราะยิ่งฝึกมันจะยิ่งทำให้คุณมั่นใจมากขึ้น ดังนั้นใช้เวลาให้คุ้มค่าและเตรียมตัวให้ดี
เรื่องราวที่ดีจะช่วยดึงดูดผู้ฟังได้ และยังช่วยให้พวกเขาจดจำและมีความรู้สึกร่วมกับการเล่าของเราได้อีกด้วย เหมือนอย่างที่ Tony Robbins นักเขียนและนักพูดชื่อดัง บอกไว้ว่า ข้อมูลที่ไม่มีอารมณ์จะไม่ถูกจดจำ ก็คือหากในเรื่องราวนั้นไม่มีอารมณ์ ถึงจะเป็นการนำเสนอที่ดีแต่มันก็จะขาดสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ฟังจดจำอยู่ดี และพยายามสรุปเรื่องราวที่จะนำมาเล่าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น อาจจะเพิ่มเติมดีเทลเรื่องกลิ่น รส ความรู้สึก เนื้อสัมผัสไปด้วย การให้รายละเอียดพวกนี้จะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ดีมากเสมือนได้เป็นส่วนหนึ่งกับสิ่งนั้น
ในวันที่ต้องนำเสนอให้สวมใส่สิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกดีหรือมั่นใจ เช่น เสื้อผ้าชุดโปรด หรือจะแต่งตัวตามธีมการนำเสนอก็ได้ เหมือนอย่างที่ Pat Flynn ผู้มีอิทธิพลทางการตลาดเคยนำเสนองานที่ยอดเยี่ยม "How to Futureproof Your Brand" โดยใช้ธีม Back to the Future ซึ่งเขาโผล่ออกมาจาก DeLorean และแต่งตัวเป็น Marty Mcfly เขาบอกว่ามันจะช่วยเพิ่มสีสัน ความประทับใจ และทำให้ผู้ฟังจดจำสิ่งที่พูดได้นานขึ้น
หากได้ดูการนำเสนอของ TED Talks คุณจะเห็นว่าแต่ละสไลด์จะมีดีไซน์และความรู้สึกที่คล้ายคลึงกัน รักษาสไลด์ของคุณให้สอดคล้องกันตั้งแต่รูปภาพ เลย์เอาต์ สี และฟอนต์ ความสอดคล้องของการนำเสนอจะช่วยให้ผู้ฟังตั้งใจฟังการนำเสนอมากกว่า หากต้องการความช่วยเรื่องเหลือการออกแบบ คุณสามารถคลิกอ่านบทความ 40 เคล็ดลับทำสไลด์ PowerPoint ให้สวย น่าอ่าน ใช้ได้กับทุกงาน
คำแนะนำในการทำสไลด์คือเลี่ยงการใส่ข้อความจำนวนมากหรือเยอะ ควรใช้ฟอนต์ขนาดใหญ่ที่มองเห็นได้ชัดเจนจากด้านหลัง และควรใส่ข้อความที่จำเป็นเท่านั้น ข้อความที่อ่านได้อย่างรวดเร็วจะทำให้ผู้ฟังไม่เสียสมาธิจากการฟังการนำเสนอของคุณ รวมถึงการทำแผนภูมิและกราฟด้วยเช่นกัน ควรทำให้เรียบง่าย ลดความซับซ้อนของข้อมูลและแสดงจุดที่สำคัญที่สุดให้เห็นอย่างชัดเจน
พยายามอย่าพูดทันทีเมือคุณเดินออกไปอยู่หน้าห้อง เพราะคุณอาจรู้สึกประหม่ามากกว่าเดิม และมันยังสื่อถึงความไม่มั่นคงและความกลัวอีกด้วย การเดินออกไปเงียบ ๆ อาจดูเหมือนยาวนานและน่าเบื่อ แต่มันจะทำให้คุณดูมั่นใจและรับผิดชอบสถานการณ์ได้ดีขึ้น เดินออกไปพร้อมกับหายใจลึก ๆ ยาว ๆ แล้วเมื่อยืนในตำแหน่งที่ดีแล้วค่อยเริ่มพูด
ภาษากายคือสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกดีกับคุณได้ และยิ่งใช้มือมากเท่าไหร่ การนำเสนอก็อาจประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น เพราะข้อมูลจาก TED ที่เปิดเผยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการดู TED Talks กับจำนวนท่าทางของมือ ซึ่งคลิปที่มีผู้เข้าชมเฉลี่ย 124,000 ครั้ง มีการใช้ท่าทางมือโดยเฉลี่ย 272 ครั้งในการพูดคุย 18 นาที ส่วนอีกคลิปที่มีผู้เข้าชม 7,360,000 ครั้ง มีการใช้ท่าทางมือโดยเฉลี่ย 465 ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า !
TED ก็ได้ยืนยันว่า มือของเราเป็นหนึ่งในสิ่งที่จะสร้างความไว้วางใจแบบไม่ใช้คำพูด และจากการศึกษาก็พบว่าเมื่อเราเห็นมือของใครบางคน เราจะวางใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้เมื่อมีคนใช้มือของพวกเขาเพื่ออธิบายแนวคิด เราจะทำความเข้าใจพวกเขาได้ง่ายขึ้น เพราะผู้พูดใช้ท่าทางมือกำลังพูดกับผู้ฟังใน 2 ระดับ คือวาจาและอวัจนภาษา
PowerPoint มีเอฟเฟกต์และทรานซิชั่นที่หลากหลายให้เราเลือกใช้งาน คุณสามารถใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อทำให้สไลด์โดดเด่นมากขึ้นได้ แต่ควรใช้มันอย่างพอดีและเหมาะสมกับสิ่งที่คุณนำเสนอด้วย
การนำเสนอที่ยอดเยี่ยมจะดึงดูดผู้ชมด้วยอารมณ์ ในขณะที่ข้อความที่คุณใช้หรือคำหลัก ๆ ก็สามารถใช้เพื่อโน้มน้าวใจหรือทำให้ผู้ฟังอินไปด้วยได้ เช่น กลัว น่าอัศจรรย์ ความก้าวหน้า ได้เปรียบในการแข่งขัน ล้ำหน้า กล้าหาญ เป็นต้น
การพูดในที่สาธารณะอาจทำให้คุณรู้สึกประหม่า และมันไม่ใช่แค่การเต้นของหัวใจเท่านั้นที่จะเต้นเร็วขึ้น เพราะการพูดของคุณก็มักจะเร็วขึึ้นกว่าเวลาพูดปกติอีกด้วย คำแนะนำคือให้คุณมีสติ เมื่อรู้ว่าพูดเร็วเกินไปก็พูดให้ช้าลงหน่อย นอกจากจะช่วยให้คุณหายใจได้ดีขึ้นแล้ว มันยังทำให้เสียงคุณฟังได้ชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย พูดช้า ๆ ชัด ๆ จะช่วยให้จังหวะในการพูดดีขึ้น
จากการวิจัยเกี่ยวกับการพูดคุยของ TED แสดงให้เห็นว่าคุณมีเวลา 7 วินาทีในการสร้างความประทับใจแรกพบที่ดี เพราะสมองจะตัดสินผู้คนอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วินาทีแรกที่ได้พบกัน สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือสิ่งนี้มักจะเกิดขึ้นก่อนการพูดคุยกันด้วย ดังนั้นคุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีภาษากายที่ดี และสไลด์ในหน้าแรกควรจะต้องดูดีเป็นพิเศษ
นอกจากทักษะการพูดที่ดีจะช่วยให้การนำเสนอประสบความสำเร็จแล้ว การมีสกิลทำสไลด์ที่ดีก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะสไลด์สามารถช่วยให้การนำเสนอน่าฟังมากขึ้น และยังช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจและเห็นภาพได้อย่างชัดเจนมากกว่าเดิมอีกด้วย สำหรับใครที่อยากจะอัปสกิลการทำพรีเซนเทชั่นให้เก่งมากขึ้น อยากเรียนรู้เทคนิคดี ๆ ในการทำสไลด์ PowerPoint ขอแนะนำคอร์ส Shortcut PowerPoint Design คอร์สเรียนที่จะสอนเทคนิคของมืออาชีพในการออกแบบสไลด์พรีเซนเทชั่นให้ดูสวย น่าสนใจ อ่านข้อมูลง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกงาน
สนใจเรียนคอร์ส Shortcut PowerPoint Design คลิกที่นี่
ที่มาข้อมูล