ปัจจุบัน Storytelling เข้ามามีบทบาทในการตลาดยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ด้วยการเล่าเรื่องราวผ่านประสบการณ์หรือความรู้ของผู้เล่า ก่อนนำมาเรียงร้อยถ้อยคำให้เป็นที่น่าสนใจและคนเข้าใจที่มาของแบรนด์ได้อย่างถูกต้องและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งการบอกเล่าเรื่องราวหรือที่เรียกว่าให้มี Story นั้น สามารถที่จะเพิ่มคุณค่าทางการตลาดได้ ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้เล่าและมีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด เช่น Life coach ชื่อดังหลายคนที่มักจะบอกเล่าเรื่องราวเพื่อกระตุ้นแรงบันดาลใจหรือรู้สึกฮึกเหิมให้แก่ผู้ฟังได้
เพราะการเล่าเรื่องสามารถสร้างความสนุกสนาน ความประทับใจและความรู้แก่ผู้รับฟังหรือผู้อ่านได้ เช่น มีเชฟทำอาหารระดับมิชลินสตาร์ มาบอกเล่าถึงวิธีการทอดปลาอย่างไรให้หอม อร่อยและไม่คาว หลายคนที่ทอดปลาเป็นอยู่แล้วอาจคิดว่าไม่น่าสนใจ แต่อาจไปสะดุดข้อความที่ระบุว่า “เชฟมิชลินสตาร์” และคำว่า “ไม่คาว” อาจทำให้มีความสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะการทอดปลาให้สุกได้นั้น ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ แต่ทอดแล้วอร่อย มีกลิ่นหอมและไม่คาวนี่สิที่น้อยคนนักจะสามารถทำได้ จึงเกิดคำถามแก่ผู้รับข้อความและแรงกระตุ้นที่จะหาหนทางเข้ารับฟังหรืออ่านบทความถึงวิธีการทอดปลาจากเชฟมิชลินคนนั้นให้ได้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่งจะเห็นได้จากการบอกเล่าผ่านนิทานต่าง ๆ ที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นนิทานพื้นบ้าน นิทานอีสป หรือนิยายต่าง ๆ
รูปแบบหลักของการเล่าเรื่องมีอยู่ด้วยกัน 8 แบบ ขึ้นอยู่กับผู้เล่าว่าต้องการสื่อเรื่องราวออกมาในรูปแบบไหน โดยมีดังนี้
รูปแบบนี้มักพบได้บ่อยในการเล่าเรื่องแบบนิทานหรือตำนานที่มีวีรบุรุษเพื่อออกเดินทาง สู่เส้นทางผจญภัย สะสมความรู้จนเป็นประสบการณ์ สามารถนำมาเผยแพร่หรือบอกกล่าวเพื่อให้ผู้รับสื่อเกิดความน่าเชื่อถือ
การเล่าเรื่องในรูปแบบให้ผู้ฟังเกิดความหวัง สร้างความตื่นเต้นเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์จริง มักพบได้บ่อยในการเล่าเรื่องแบบสร้างแรงบันดาลใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิด หรือพฤติกรรม โดยการนำปัญหาทางสังคม ชีวิต ธุรกิจ มาใช้ในการบอกเล่าเรื่องราว
การเล่าเรื่องแบบนี้เป็นการเล่าเรื่องราวให้คนคล้อยตาม สร้างความตื่นเต้น ก่อนที่จะทำการหักมุม อาจจะจบแบบ Happy Ending หรือแบบดราม่าก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับว่ามีการปูเรื่องเล่ามาแบบไหน ซึ่งเหมือนการเดินขึ้นภูเขาก่อนที่จะถึงเป้าหมายและตกลงมา เพื่อเป็นการหักมุมให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจได้อย่างไม่คาดคิด
รูปแบบการเล่าเรื่องที่สร้างความซับซ้อนก่อนที่จะสรุปใจความสำคัญของบทความในตอนท้าย หรือการเล่าเรื่องในตอนถัดไปเรื่อย ๆ ซ้ำไป ซ้ำมา เช่น การเล่าเรื่องที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิตคน อาจจะเล่าในส่วนของช่วงชีวิตที่เป็นวัยรุ่นก่อน แล้วสลับไปเล่าเรื่องตอนเด็ก หรือช่วงประสบความสำเร็จ
การเล่าเรื่องด้วยเนื้อเรื่องที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดให้ผู้รับฟังสนใจเพื่อหาคำตอบ ก่อนที่ผู้เล่าจะย้อนกลับไปเล่าจุดเริ่มต้นของความน่าสนใจนี้ ถือเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ละครสมัยใหม่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้ชมมีความสนใจและติดตามเรื่องราวถึงความตื่นเต้นในเรื่องราวนั้น ๆ หรือการบอกเล่าเรื่องราวด้วยการให้ข้อมูลที่สำคัญแต่ให้ไม่หมด อาจบอกใบ้หรือซ่อนเงื่อนไขให้ได้ติดตาม ก่อนที่จะเฉลยขึ้นมาในภายหลังเพื่อคลายปมต่าง ๆ
เป็นการสร้างเรื่องเล่าหลาย ๆ เรื่อง ก่อนที่จะเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ก่อนวกเข้าแก่นแท้และใจความสำคัญของเรื่องราวนั้น ๆ เช่น ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ แม้ว่าแต่ละเรื่องจะไม่ได้เกี่ยวข้องกัน แต่ก็สามารถนำเรื่องราวเหล่านั้นมาเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุผลและทำให้เกิดความประทับใจ
การสร้างเรื่องราวเพื่อให้เกิดความแตกต่างทางความคิด ก่อนที่จะเรียงร้อยเพื่อให้เป็นโครงสร้างหรือเรื่องราวเดียวกัน
เป็นการปูเรื่องราวถึงความผิดพลาดตั้งแต่ต้นเรื่อง เพื่อให้ผู้ฟังได้เห็นถึงปัญหา ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องราวที่เกิดขึ้น
รูปแบบการเล่าเรื่องทั้ง 8 แบบที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 5 อย่างด้วยกัน ประกอบไปด้วย
1.ตัวละครหลัก ในการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ จะต้องมีตัวละครหลักเพื่อเป็นตัวดำเนินเรื่องเสมอ และตัวละครรอง เพื่อให้เกิดเรื่องเล่าซึ่งอาจมีตัวละครอื่น ๆ เพิ่มเติมให้เรื่องเล่าดังกล่าวมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
2.โครงเรื่อง เป็นเส้นทางการดำเนินเรื่องสำหรับให้ตัวเอกและตัวรองได้แสดงบทบาทเพื่อสร้างเรื่องราวต่าง ๆ ได้
3.แก่นแท้ของเรื่อง หรือความคิด เรื่องราวที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงเรื่องราวอย่างถ่องแท้ เช่น หลักคำสอน เป็นต้น
4.บทสนทนา หรือเนื้อหาของเรื่องเล่า
5.ความขัดแย้ง ในการบอกเล่าเรื่องราวย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เพื่อสร้างสีสันและเรื่องราวให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น เพราะเรื่องเล่าที่มีแต่เรื่องราวดี ๆ มักไม่มีความน่าสนใจหรือสร้างความตื่นเต้นให้ผู้ฟังได้
1.การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
การสร้างเรื่องราวให้เป็น Story ที่น่าสนใจเพื่อทางธุรกิจนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้และเข้าใจถึงเรื่องเล่านั้นได้ เพื่อประโยชน์ทั้งผู้เล่าและผู้รับสาร ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบล็อก, การออกแบบสื่อ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ต้องรู้กลุ่มของลูกค้า เพื่อที่จะได้ศึกษาและวิจัยได้อย่าง ถูกต้อง เช่น ใคร, ต้องการอะไร, รู้สึกอย่างไร, มีปัญหาอะไร และต้องการแรงบันดาลใจหรือความคาดหวังในสิ่งใด เป็นต้น
2.กำหนดบทความที่จะกล่าวถึง
เมื่อวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแล้ว ลำดับต่อไปจะเป็นในส่วนของข้อความหรือบทความที่ต้องการสื่อถึง เช่น ต้องการสื่อถึงอะไร, สื่อสารไปแล้วมีคุณค่ามากน้อยแค่ไหน หรือสื่อสารไปแล้วลูกค้าจะซื้อหรือไม่
3.สร้างโครงเรื่อง
หลังจากวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและข้อความที่ต้องการสื่อแล้ว จำเป็นที่จะต้องสร้างโครงเรื่องให้ชัดเจนเพื่อนำเสนอให้กลุ่มเป้าหมายได้คล้อยตาม
4.ลงมือเขียนเรื่องราว
เมื่อเตรียมข้อมูลไว้ทุกอย่างแล้ว ลำดับต่อไปคือการลงมือเขียนเรื่องราวเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ถึงเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อถึง
5.ความต้องการให้กลุ่มเป้าหมายทำตามวัตถุประสงค์
เมื่อสร้างเรื่องราวต่าง ๆ แล้ว ในลำดับต่อไปคือความคาดหวังที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายปฏิบัติตาม เพื่อหวังผลทางธุรกิจโดยการเชื่อมโยงเป้าหมายในการสร้างเรื่องราว
6.ปรับปรุง แก้ไข อย่างเหมาะสม
การแก้ไขปรับปรุงเรื่องเล่าเพื่อตรวจการใช้ภาษาให้เหมาะสมและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้งานที่ออกมานั้นมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
7.เลือกช่องทางในการนำเสนอ
ในการทำคอนเทนต์เพื่อทำธุรกิจออนไลน์ เจ้าของธุรกิจควรเลือกช่องทางในการเผยแพร่เรื่องราวเพื่อการนำเสนอ ในการส่งมอบเรื่องราวดี ๆ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพราะหากเลือกช่องทางที่ผิด นอกจากจะไม่สามารถสื่อสารให้ถึงกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว ยังทำให้เสียเวลาในการเตรียมเรื่องราวทั้งหมดด้วย
ปัจจุบัน การเล่าเรื่องให้มี Story นั้นเป็นหนึ่งในทักษะที่คนธรรมดาทุกคนควรศึกษาและพัฒนาให้ตนเองสามารถบอกเล่าเรื่องราวของตนเองในการสัมภาษณ์งานหรือการนำเสนอผลงานได้ ไม่เพียงแต่บุคคลธรรมดาเท่านั้นที่ต้องฝึกฝนและเรียนรู้เกี่ยวกับ Storytelling ภาคธุรกิจเองก็ควรให้ความสำคัญต่อการบอกเล่าผ่าน Story เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าและมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความผูกพัน ที่มิใช่แค่รูปลักษณ์ภายนอกเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนที่จะประสบความสำเร็จและเป็นที่จดจำ เช่น การสร้างเรื่องราวในตัวสินค้าถึงที่มาของวัตถุดิบที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ก่อนใช้กรรมวิธีในการผลิตที่ทันสมัย หรือบางสินค้าอาจจะเน้นไปที่กระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่ไม่ใช้เครื่องจักรใด ๆ ก็ล้วนนำมาสร้างเป็นจุดขายได้เช่นกัน