การออกกำลังกาย คือการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ซึ่งก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างเป็นระบบ และควรมีการทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ร่างกายเกิดการพัฒนา และคงอยู่ของสมรรถภาพทางร่างกาย หรือที่เรียกกันว่า ความฟิตแอนด์เฟิร์มนั่นเอง !
1. วอร์มอัพร่างกายก่อนออกกำลังกาย
การได้เหยียดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายเริ่มต้นเบาๆ ไปก่อน จะช่วยการไหลเวียนของเลือด ทั้งการได้คลายกล้ามเนื้อทุกส่วน มีนักวิ่งหลายคนขี้เกียจบริหารร่างกายในท่าพื้นฐานทั้งการหมุนหัวไหล่ สะบัดมือ แขน ขา ส่วนใหญ่จะเข้าลู่วิ่งทันที เคยมีให้เห็นเป็นตัวอย่าง มีนักวิ่งหน้าใหม่วิ่งรวมกลุ่มนักวิ่งคนอื่น ก่อนจะเริ่มวิ่งช้าลง เกิดอาการจุกเสียด หัวใจเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ ควบคุมการหายใจเข้าออกไม่ได้
2. กำหนดเวลาการออกกำลังกาย
ปรับเวลาในการออกกำลังกายให้เหมาะสม และไม่ควรออกกำลังกายนานหรือหนักเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้ามากกว่าจะได้ความแข็งแรง ควรจัดให้ในแต่ละสัปดาห์มีวันพักการออกกำลังกายอย่างน้อย 1 - 2 วัน เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสมดุลและฟื้นฟูตัวเองดีขึ้น
3. ตรวจเช็คสภาพร่างกาย
ลองตรวจสอบตัวเองก่อนว่าวันนี้พักผ่อนมาเต็มที่หรือไม่ บางคนนอนหลับกลางคืนไม่กี่ชั่วโมงแล้วตื่นเช้าไปทำงาน ตกเย็นสวมชุดกีฬาที่ค้นเคยลงสนามทันที หลายคนคิดว่าตัวเองแข็งแรง ทำอย่างนี้ทุกวันเท่ากับสะสมความเหนื่อยล้าของร่างกายเป็นทวีคูณ อาจเกิดอาการน็อกกลางอากาศโดยไม่รู้ตัว หากรู้สึกอ่อนเพลีย ก็หยุดออกกำลังกายไปก่อนอย่าฝืนจะดีกว่า
4. เลือกชนิดการออกกำลังกายให้เหมาะสม
เลือกชนิดการออกกำลังกายให้เหมาะสม และสลับชนิดของการออกกำลังกายในแต่ละวันเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งใช้งานหนักเกินไป ซึ่งจะช่วยทำให้คุณออกกำลังกายทุกส่วนของร่างกายได้ครบ
5. เข้าใจทักษะการเล่นกีฬานั้น ๆ
ไม่ว่าจะเล่นบาสเกตบอลหรือฟุตบอล หลายรายไม่ทันระวังตัวถูกศอกของคู่ต่อสู้กระแทกใส่ใบหน้าทั้งเป็นแผลแตกหรือดั้งจมูกหัก ฟันหัก การทำความเข้าใจกับวิธีการเล่นที่ถูกต้อง มีน้ำใจนักกีฬา มีการฝึกฝน และสภาพร่างกายที่แข็งแกร่ง จะช่วยลดการบาดเจ็บได้มาก
6. อย่าออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป
คนที่มีโรคประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้ง โรคเบาหวาน ไขมัน ความดัน หรือโรคหัวใจ ก็ตาม สามารถจะเล่นกีฬาได้เหมือนคนที่มีสุขภาพดี เพียงแต่อย่าหักโหม ต้องรู้จักประเมินสภาพร่างกายของตัวเองไว้ก่อน
7. คูลดาวน์ทุกครั้งหลังออกกำลังกาย
หลังเล่นกีฬาเสร็จแล้ว ควรจะเคลื่อนไหวร่างกายไปสักพักด้วยการเดินไปมา เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนขาได้คลายความเมื่อยล้า โดยเฉพาะกรดแลคติกในกล้ามเนื้อเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยจะค่อย ๆ สลายไป หลังออกซิเจนในเลือดได้เข้ามาหล่อเลี้ยงอีกครั้งช่วยลดการปวดกล้ามเนื้อได้ หัวใจที่เต้นถี่มากขึ้นได้กลับมาเต้นในอัตราปกติ การสูบฉีดของเลือดไหลเวียนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นปกติอีกครั้ง
หากเกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย อย่างที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะถ้ายิ่งฝืนในจุดที่มีอาการบาดเจ็บจะยิ่งทำให้อาการบาดเจ็บลุกลาม และหายช้ากว่าปกติ ควรปฏิบัติตามดังต่อไปนี้
1. หากเกิดอาการบาดเจ็บให้หยุดการออกกำลังกายทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนอื่น ๆ บาดเจ็บตามไปด้วย รวมทั้งหากยังฝืนเล่นจะยิ่งทำให้อาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น
2. สำหรับคนที่เว้นจากการออกกำลังกายไปนาน แล้วกลับมาออกกำลังกายอีกครั้ง อาจมีอาการปวดเมื่อย ซึ่งเป็นอาการปกติและไม่ใช่การบาดเจ็บ แต่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อเกิดความช้ำและไม่เคยชินเท่านั้น โดยอาการนี้จะหายไปเองได้ภายใน 2-3 วัน ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา
3. หากเกิดอาการบาดเจ็บที่มีอาการบวม ให้ใช้วิธีประคบเย็น และยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงขึ้น เพราะจะช่วยลดอาการบวมได้
4. หากมีอาการบาดเจ็บจากกิจกรรมการออกกำลังกายใด ไม่ควรทำกิจกรรมนั้นซ้ำอีก เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้บาดเจ็บอีกครั้ง
5. ในกรณีที่เกิดบาดเจ็บอย่างรุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
อาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬามืออาชีพหรือมือใหม่ที่เพิ่งจะมาเริ่มต้นออกกำลังกาย ไม่ว่าใครก็ต้องคอยเจอกับอาการเจ็บปวดมาด้วยกันทั้งนั้น ทำให้ผู้ที่ออกกำลังกายจำเป็นจะต้องศึกษาวิธีออกกำลังกายอย่างถูกวิธี หรือควรมีเทคนิคที่น่ารู้เล็ก ๆ ติดตัวไว้ เพื่อลดความเสี่ยงและอาการบาดเจ็บต่าง ๆ ที่จะส่งผลกับร่างกายของเราได้ทุกเมื่อหลังออกกำลังกาย
สำหรับใครที่อยากเรียนรู้วิธีการออกกำลังกายให้เหมาะกับร่างกายของตัวเอง สามารถเข้าไปเรียนได้ในคอร์ส “BASIC EXERCISE SCIENCE” คอร์สที่จะช่วยให้คุณเลือกแนวทางในการออกกำลังกายอย่างเหมาะตามหลักวิทยาศาสตร์ ว่าการเริ่มต้นออกกำลังกายจะต้องรู้อะไรบ้าง เพื่อให้การออกกำลังกายของคุณปลอดภัย ไม่เกิดการบาดเจ็บในระยะยาว
ที่มาข้อมูล