แกรมม่าพื้นฐาน Pronoun-Antecedent Agreement (กฎความสอดคล้องของสรรพนามกับนาม)
2738 views | 31/08/2022
Copy link to clipboard
Nong Tanakorn
Content Creator

กฎความสอดคล้องของสรรพนามกับนาม/สรรพนาม (Pronoun-Antecedent Agreement) เรื่องพื้นฐานที่ต้องรู้และเข้าใจ เพื่อใช้ภาษาอังกฤษอย่างถูกแกรมม่าและไม่พลาดคะแนนในทุกการสอบ



กฎความสอดคล้องของสรรพนามกับนามหรือสรรพนามที่กล่าวครั้งแรก

(Pronoun-Antecedent Agreement)


1. Personal Pronoun (บุรุษสรรพนาม) ต้องสอดคล้องกับ Antecedent (คำนามหรือสรรพนามที่กล่าวครั้งแรก) ทั้งในเรื่องของจำนวน, บุคคล และเพศ ซึ่งถ้าเป็นเอกพจน์ก็ต้องเอกพจน์ทั้งคู่ หรือถ้าเป็นพหูพจน์ก็ต้องเป็นพหูพจน์ทั้งคู่


Singular: Mana finished his homework.

   (มานะทำการบ้านของเขาเสร็จแล้ว)

**Mana คือ Antecedent เพศชาย เป็นเอกพจน์ จึงใช้ Pronoun ‘his’


Plural: The students finished their homework.

      (พวกนักเรียนทำการบ้านของพวกเขาเสร็จแล้ว)

**The students คือ Antecedent พหูพจน์ จึงใช้ Pronoun ‘their’


2. เมื่อ Indefinite Pronoun (สรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง) เป็น Antecedent (คำนามหรือสรรพนามที่กล่าวครั้งแรก) มีกฎคือ


   2.1. Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ) ที่เป็นเอกพจน์เสมอ : another, anything, everybody, neither, one, anybody, each, everyone, nobody, somebody, anyone, either, everything, no one, someone ถูกกล่าวถึงก่อน ดังนั้นสรรพนามที่จะมาแทนก็ต้องเป็นเอกพจน์


   ex. Everyone can say anything he or she wants about me.

     (ทุกคนสามารถพูดเรื่องต่าง ๆ ตามที่เขาหรือเธอต้องการเกี่ยวกับตัวฉัน)

     **Everyone เป็นสรรพนามไม่ชี้เฉพาะเอกพจน์ จึงใช้สรรพนามเอกพจน์ he or she


   2.2. Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ) ที่เป็นพหูพจน์เสมอ : both, few, many, several ถูกกล่าวถึงก่อน ดังนั้นสรรพนามที่จะมาแทนก็ต้องเป็นพหูพจน์


   ex. Many students improved their English speaking.

     (นักเรียนจำนวนมาได้พัฒนาการพูดภาษาอังกฤษของพวกเขา)


   2.3. Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ) ที่เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ : all, any, half, more, most, part, some ถูกกล่าวถึงก่อน ดันนั้นสรรพนามที่จะมาแทนต้องสอดคล้องกันดังนี้


     - เมื่อกรรมของบุพบทเป็นนามนับไม่ได้ ต้องใช้สรรพนามที่เป็นเอกพจน์มาแทน

       ex. Some of the sugar fell out of its bag.

         (น้ำตาลบางส่วนหกออกจากถุงของมัน)

         **น้ำตาลเป็นคำนามนับไม่ได้ จึงใช้สรรพนามที่เป็นเอกพจน์มาแทน


     - เมื่อกรรมของบุพบทเป็นนามนับได้ ต้องใช้สรรพนามที่เป็นพหูพจน์มาแทน

       ex. All the students have received their school reports.

         (นักเรียนทุกคนได้รับสมุดพกของพวกเขา)

         **นักเรียนเป็นคำนามนับได้ จึงใช้สรรพนามที่เป็นพหูพจน์มาแทน


3. เมื่อประธานของประโยคมีสองบุคคลและเชื่อมด้วย and ต้องแทนด้วยสรรพนามที่เป็นพหูพจน์


   ex. Aphisit and Sudarat reported the problem to their supervisor.

     (อภิสิทธิ์และสุดารัตน์รายงานปัญหาแก่หัวหน้าของพวกเขา)


4. เมื่อ Antecedent (คำนามหรือสรรพนามที่กล่าวครั้งแรก) มีสองบุคคลที่เป็นเอกพจน์และเชื่อมด้วย or หรือ nor ต้องแทนด้วยสรรพนามที่เป็นเอกพจน์


   ex. Neither Aruna nor Kanya will join her friend.

      (ทั้งอรุณาและกันยาจะไม่ไปกับเพื่อนของเธอทั้งคู่)


แต่บางครั้งกฎข้อนี้ทำให้ประโยคดูแปลกไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ เช่น Neither Jay nor May will join his or her friend. ดังนั้นควรเขียนประโยคใหม่ที่ดีกว่าว่า Jay and May won’t join their friend.


5. เมื่อมี Antecedent (คำนามหรือสรรพนามที่กล่าวครั้งแรก) ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์แล้วเชื่อมกันด้วย or, either…or, neither…nor คำสรรพนามจะสอดคล้องกับ Antecedent ที่อยู่ใกล้ที่สุด


   ex. Either the supervisor or the subordinates will present their project.

     (ไม่หัวหน้าก็พวกลูกน้องนี่แหละที่จะพรีเซนต์โปรเจ็คของพวกเขา)


   ex. Either the subordinates or the supervisor will present his or her project.

     (ไม่พวกลูกน้องก็หัวหน้านี่แหละที่จะพรีเซนต์โปรเจ็คของเขาหรือเธอ)  


6. เมื่อ Collective noun (คำนามที่บ่งบอกถึงการรวมตัวกันของคำนาม) เช่น army, audience, class, club, committee, crowd, flock, group, herd, jury, orchestra, public, swarm, team, troop เป็น Antecedent (คำนามหรือสรรพนามที่กล่าวครั้งแรก) จะแทนด้วยสรรพนามเอกพจน์ถ้าทั้งกลุ่มทำกิจกรรมนั้นทั้งหมด และใช้สรรพนามพหูพจน์เพื่อเน้นสมาชิกแต่ละคน


   ex. The jury read its verdict.

      (คณะลูกขุนอ่านคำตัดสินของเขา)

   **เป็นการทำทั้งกลุ่มจึงใช้สรรพนามเอกพจน์


   ex. The jury gave their individual opinions.

      (ขณะลูกขุนให้ความคิดเห็นของพวกเขาแต่ละคน)


เพื่อไม่เป็นการสับสน ให้ใช้คำว่า members ตามหลัง Collective noun เมื่อต้องการพูดการกระทำแต่ละคนในกลุ่ม เช่น The jury members gave their individual opinions. (สมาชิกคณะลูกขุนให้ความเห็นของพวกเขาแต่ละคน)


7. he, his, him ใช้แทน Antecedents ที่เป็นผู้ชาย she, her, hers ใช้แทน Antecedents ที่เป็นผู้หญิง it, its คือคำกลาง ๆ แต่ใช้แทนคนไม่ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษาที่แบ่งแยกเพศ ดังนั้นเมื่อ Antecedent รวมทั้งชายและหญิงให้ใช้สรรพนาม his or her


   ex. Wasin visited his grandmother.

      (วศินไปเยี่ยมย่าของเขา)

   **his เป็นสรรพนามแทน Wasin ที่เป็นผู้ชาย


   ex. Ploy always has her nails beautifully done.

     (พลอยทำเล็บของเธอให้สวยอยู่เสมอ)

   **her เป็นสรรพนามแทน Ploy ที่เป็นผู้หญิง


   ex. My dog often scratches its body.

     (น้องหมาของฉันเกาตัวมันบ่อย ๆ)

   **its เป็นสรรพนามแทน dog


   ex. Every student wants to impress his or her professors.

     (นักเรียนทุกคนอยากสร้างความประทับใจแก่อาจารย์ของเขาหรือเธอ)

   **his or her เป็นสรรพนามแทน Every student ที่มีทั้งเพศหญิงและชาย


8. Personal Pronoun (บุรุษสรรพนาม) ต้องสอดคล้องกับบุคคลด้วย Antecedent (คำนามหรือสรรพนามที่กล่าวครั้งแรก) ของมันเอง Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ) ส่วนใหญ่เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 และต้องการ Personal Pronoun (บุรุษสรรพนาม) บุรุษที่ 3 เช่นกัน


   ex. Everyone in my English class does his or her homework.

     (ทุกคนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษของฉันทำการบ้านของเขาหรือเธอ)

   **Everyone เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 เอกพจน์ จึงใช้ his or her ที่เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 เอกพจน์


   ex. Many of the students in my English class do their homework.

     (นักเรียนหลายคนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษของฉันทำการบ้านของพวกเขา)

   **Many เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์ จึงใช้ their ที่เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์

 


 

ที่มาข้อมูล

  • https://www.trueplookpanya.com/knowledge/language/english
  • https://webapps.towson.edu/ows/index.asp
  • http://www.guidetogrammar.org/grammar/
  • https://www.hawaii.edu/
  • http://www.cws.illinois.edu/