IELTS Writing Task 1 เป็นการเขียนเชิงอธิบายหรือบรรยายเกี่ยวกับตาราง กราฟ แผนผัง แผนภูมิ หรือแผนภาพ เพื่อแสดงการเปรียบเทียบข้อมูล หรืออธิบายถึงขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ด้วยการใช้ภาษาอย่างง่าย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงความคิดเห็นส่วนตัวประกอบ ซึ่งส่วนนี้ต้องเขียนไม่ต่ำกว่า 150 คำ และใช้เวลาเขียน ประมาณ 20 นาที
1. ดูว่าโจทย์ที่ให้มาเป็นข้อมูลในลักษณะใด เช่น เป็นตาราง (Table), กราฟเส้น (Line Graph), กราฟแท่ง (Bar Graph) แผนภูมิรูปวงกลม (Pie Chart) หรือแผนภาพ (Diagram) และให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับอะไร
2. ดูว่าตาราง กราฟ แผนภูมิ หรือแผนภาพนั้น ใช้มาตราใด เช่น เปอร์เซ็นต์ จำนวนเวลา จำนวนเงิน ฯลฯ
3. ข้อมูลที่ให้มาในตาราง กราฟ แผนภูมิ หรือแผนภาพนั้น บางครั้งมีมากพอที่จะนำไปใช้เขียน แต่บ่อยครั้งก็ไม่ได้บอกข้อมูลตรง ๆ ไปหมดทุกเรื่อง ผู้สอบจึงต้องคิดเองเพิ่มเติมเองว่าอะไรคือจุดเด่นของข้อมูลนั้น มีจุดใดในข้อมูลที่นำมาเปรียบเทียบความเหมือน และความแตกต่างกันได้บ้าง และข้อมูลนั้นแสดงจำนวนที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่
4. จดบันทึกข้อมูลสำคัญที่ได้มาจากตาราง กราฟ แผนภูมิ หรือแผนภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเขียน
1. ก่อนเริ่มต้นเขียน ควรเรียบเรียงความคิด และจัดลำดับข้อมูลที่มีอยู่ว่าควรจะนำเสนออะไรก่อน อะไรหลัง เพื่อให้เนื้อเรื่องมีความสอดคล้อง ลื่นไหล และเป็นเหตุเป็นผล
2. เริ่มต้นเรื่องด้วยประโยคคำนำเพื่อบอกถึงสิ่งที่ผู้สอบกำลังเขียนอธิบายอยู่ เช่น
The graph below gives information about international tourist arrivals in three countries between 2013 and 2018.
The chart below shows the total number of minutes of telephone calls in Thailand, divided into three categories, from 2010 – 2015.
The diagram below shows Australian spending habits between 1990 and 2010.
3. ตัวเนื้อเรื่อง ควรแบ่งเป็นย่อหน้าประมาณ 1-3 ย่อหน้า เพื่อเขียนอธิบายรายละเอียดข้อมูลที่ได้จากตาราง กราฟ แผนภูมิ หรือแผนภาพ โดยเปรียบเทียบจุดที่เหมือนกัน หรือแตกต่าง หรือบอกแนวโน้มว่าเพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ แล้วยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องประกอบเพื่อสนับสนุนประเด็นนั้นและพยายามเขียนวางลำดับเนื่องเรื่องให้มีความต่อเนื่อง และเป็นเหตุเป็นผล
4. ควรเขียนประโยคสรุป เพื่อเป็นการสรุปเนื้อเรื่องที่เขียนมาอย่างสั้น ๆ เช่น
Therefore, local calls are still the most common type, but the gap between the 3 has reduced and the quantity for all 3 is quite close (around 10 to 12 billion for each).
It is striking that both the ranking of the factors and the number of respondents is very similar for both men and women.
To sum up, while cars, restaurants and computers took up much more expenditure in 2010 than 1990, food and books dropped dramatically. Meanwhile, furniture and petrol accounted for a similar portion of spending.
ที่มาข้อมูล