การเริ่มธุรกิจออนไลน์ นอกจากการศึกษากลไกตลาด รวมไปถึงการวางแผนการตลาดออนไลน์แล้ว การศึกษาข้อกฎหมายที่ควรรู้ในการทำธุรกิจออนไลน์ก็นับเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะการศึกษาข้อมูลที่รัดกุม และละเอียดรอบคอบ ย่อมช่วยให้เราทำการค้าไปได้อย่างราบรื่นตลอดรอดฝั่ง และป้องกันไม่ให้ธุรกิจของเราทำผิดกฎหมายโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว
กฎหมายธุรกิจออนไลน์ที่จำเป็นต้องรู้ เรารวบรวมมาให้แล้วตามข้อมูลต่อไปนี้
ภาพ : Shutterstock
กฎหมายข้อนี้ว่าด้วยการจดทะเบียนการค้าของผู้ประกอบธุรกิจที่ทำการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์โดยใช้อินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จำเป็นต้องไปจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 และจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ก่อน จึงจะสามารถประกอบกิจการได้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ อยู่ที่ไหน และทำธุรกิจอะไรอยู่บ้าง
ภาพ : Shutterstock
รายละเอียดของสินค้านี้ ครอบคลุมหลายข้อ ดังต่อไปนี้
- ราคาสินค้า ผู้ขายต้องแสดงราคาเป็นตัวเลขอารบิกให้ชัดเจนและเปิดเผย ราคาที่แสดงต้องตรงกับราคาที่จำหน่ายจริง หากต้องให้ลูกค้าสอบถามถือว่าผิดกฎหมาย
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่ง ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องแสดงให้ชัดเจน ตรงไปตรงมา และเปิดเผย
- รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นชนิด ลักษณะ ประเภท ขนาด น้ำหนัก ฯลฯ ควรระบุโดยละเอียดเป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นร่วมด้วย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น และควรระบุให้ชัดเจน ละเอียดครบถ้วน
ภาพ : Shutterstock
ผู้ประกอบการควรตรวจสอบและคัดเลือกสินค้าที่ถูกกฎหมายมาขาย ไม่ควรจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ สินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายทางการค้า สินค้าปลอม สินค้าเลียนแบบ หรือสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น หากฝ่าฝืนอาจมีโทษอาญาทั้งจำทั้งปรับ หรืออาจมีความผิดทางแพ่งต่อเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาร่วมด้วย
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ระบุหลักเกณฑ์การโฆษณา ทั้งการใช้ข้อความและรูปภาพ ไว้ว่า ไม่ควรใช้ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินจริง ไม่ควรใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเนื้อหา ไม่ควรใช้ข้อความที่สนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการทำผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม หรือทำให้เกิดความแตกแยก
ภาพ : Shutterstock
กฎหมายข้อนี้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับลักษณะการลงโฆษณาขาย ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 มีใจความสำคัญว่า ไม่ควรส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับบอกยกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธได้ ทั้งนี้หมายรวมถึง การฝากร้านตามแพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ การส่ง sms โฆษณาโดยไม่ได้รับความยินยอม การส่งอีเมลขายของ การแชร์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น การแสดงความเห็นต่าง ๆ ที่ผิดกฎหมาย การโพสต์สื่อลามกอนาจาร และการโพสต์ข้อความ ภาพ เพลง หรือวิดีโอ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น เป็นต้น
ภาพ : Shutterstock
การขายของออนไลน์ปัจจุบันต้องยื่นภาษีด้วย โดยจะต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (8) เมื่อมีรายได้เกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) ต่อปี ซึ่งการยื่นภาษีออนไลน์สำหรับการขายของออนไลน์มีความจำเป็นอย่างมาก พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรศึกษาการยื่นภาษีตามรูปแบบการค้าขายของตัวเองโดยละเอียด
สำหรับผู้ที่อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการขายของออนไลน์เพิ่มเติม เรามีคอร์ส ยิงแอดปัง ฉบับจับมือทำ สอนโดยครูมิ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการยิงแอด Facebook มาแนะนำ
ที่มาข้อมูล