แผนภูมิแกนต์นิยมใช้ทำ Project Planner โดยระบุหัวข้อกิจกรรมที่เกิดขึ้นในหนึ่งช่วงเวลาของการวางแผนงาน ซึ่งจะมีการแสดงระยะเวลาของแต่ละกิจกรรมให้อยู่ในรูปของเส้นแถบแนวนอน เหมาะสำหรับการวางแผนกิจกรรมการทำงานที่มีระยะเวลานานและซับซ้อน หรือต้องการติดตาม Process ของงานเทียบกับ Timeline ที่วางเอาไว้ ต้องการดูว่าในการดำเนินโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะต้องทำในช่วงเวลาเดียวกัน และต้องการจัดลำดับการทำงานให้สำเร็จตาม Timeline เป็นต้น
FUN FACTS:
แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) ตั้งชื่อตาม Henry Laurence Gantt วิศวกรเครื่องกลชาวอเมริกัน เขาสร้างแผนภูมิแกนต์ในทศวรรษที่ 1910 เพื่อใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานว่าโครงการนี้มีงานย่อย ๆ อะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ ควรเสร็จเมื่อไหร่ และงานไหนมาก่อนมาหลัง
แผนภูมิแท่งทั้งแนวตั้งและแนวนอนนิยมใช้เพื่อแสดงความผันผวนของข้อมูล เปรียบเทียบจำนวน เปอร์เซ็นต์ หรือจัดอันดับข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป โดยกราฟแท่งแนวตั้งนิยมใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลชนิดเดียวกันที่เวลาแตกต่างกัน ส่วนกราฟแท่งแนวนอนมักใช้เปรียบเทียบข้อมูลต่างชนิดกันที่เวลาเดียวกัน
โดยแผนภูมิแท่งมักใช้กับข้อมูลประเภทการสำรวจ (Surveys) การประเมินผล (Evaluation) และสถิติ (Statistics)
ข้อควรระวังในการใช้แผนภูมิแท่งก็คือ การตกแต่งกราฟแท่งมากเกินไป เช่น ใส่รูปภาพในแผนภูมิจนลายตา ก็อาจส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการอ่านค่ากราฟลดลง คนดูไม่เข้าใจได้
แผนภูมิวงกลมเหมาะกับการนำเสนอข้อมูลที่มีส่วนประกอบย่อยที่รวมกันเป็นส่วนใหญ่ แสดงสัดส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ต่อข้อมูลทั้งหมดที่คิดเป็น 100% เช่น ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share), ข้อมูลแสดงส่วนผสมต่าง ๆ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใช้แผนภูมิวงกลมก็คือ ไม่ควรมีความแตกต่างของจำนวนตัวเลขของข้อมูลน้อยเกินไป จนไม่สามารถแบ่งแยกความแตกต่างด้วยสายตาได้ และควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 7% ไม่อย่างนั้นจะแยกออกมาไม่ชัดเจนมากพอนั่นเอง
กราฟเส้นมักใช้ในการนำเสนอข้อมูลที่ต้องการให้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง มากกว่าจะแสดงเพียงจำนวนตัวเลขที่แท้จริงเท่านั้น เช่น ราคาหุ้น, ชั่วโมงการใช้มือถือในแต่ละวันของคนไทยช่วงก่อนและหลังโรคระบาด เป็นต้น เพื่อต้องการเห็นรูปแบบ แนวโน้ม และการคาดการณ์ของข้อมูล (ว่าเพิ่มหรือลดลงอย่างไร)
ข้อความระวังในการใช้กราฟเส้นก็คือ ควรรวบรวมข้อมูลเพื่อเเสดงในกราฟให้มากกว่าจุดเดียว และได้หลาย ๆ จุด
แผนภูมิพื้นที่จะแสดงให้เห็นปริมาณความแตกต่างระหว่างเส้น (ความหนา) เหมาะสำหรับเน้นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา จะมีหน้าตาคล้ายกราฟเส้นเลยค่ะ แต่มีการแรเงาพื้นที่ใต้เส้นข้อมูลหรือระหว่าง 2 เส้น เพื่อแสดงให้เห็นผลรวมของความแตกต่างระหว่างข้อมูลทั้งสองชุด เช่น การแสดงกำไรของสินค้าแต่ละชนิด, อัตราการเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรค NCDs เป็นต้น
แผนภูมิรูปภาพก็เป็นแผนภูมิที่ทำง่าย คนเห็นแล้วเก็ทไว เป็นแผนภูมิที่ประกอบไปด้วยแกนนอนและแกนตั้ง มีลักษณะคล้าย ๆ กับแผนภูมิแท่ง แต่แทนที่จะเลือกใช้แท่งทื่อ ๆ เราจะเปลี่ยนไปเลือกใช้รูปภาพหรือไอคอนแทนจำนวนของสิ่งของนั้น ๆ แทน ทำให้งานดูน่ารักมากขึ้น ดู Friendly มากขึ้น เช่น แผนภูมิรูปภาพแสดงความนิยมของนม 2 ยี่ห้อ, แผนภูมิรูปภาพแสดงผลโหวตการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใช้แผนภูมิรูปภาพก็คือ ไม่ควรมีจำนวนของข้อมูลที่นำมาเปรียบเทียบมากเกินไปเพราะจะสร้างความสับสนได้
เราจะเห็นว่ารูปแบบการนำเสนอข้อมูลมีหลายแบบมากมาย อย่างแรกเลยก็คือเราต้องพิจารณาข้อมูลที่มีก่อน และศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของรูปแบบการนำเสนอข้อมูล เพื่อที่จะสามารถเลือกรูปแบบ PowerPoint Charts ที่เหมาะสมกับการสื่อสารข้อมูลของเราได้ดีที่สุด สำหรับใครที่สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ Charts ต่าง ๆ ออกแบบสไลด์ให้ดูโปรมากขึ้น ขอแนะนำคอร์ส ‘PowerPoint Infographic for Business’ คลิกที่นี่
ที่มาข้อมูล