คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าสิ่งที่จะพูดตอนเริ่มการนำเสนอนั้นมีประสิทธิภาพดีแล้ว หากคุณนำเสนองานในบริษัทที่ทุกคนรู้จักคุณดีอยู่แล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องแนะนำตัวอย่างเป็นทางการ แต่ถ้าคุณต้องนำเสนอต่อหน้าผู้ฟังที่ไม่เคยรู้จักคุณมาก่อน คุณต้องแนะนำตัวเองและควรสร้างความประทับใจแรกพบให้เป็นด้วย การเริ่มต้นที่ดีจะส่งผลให้การนำเสนอของคุณน่าสนใจและน่าฟังมากขึ้น
คุณควรใช้คำให้เหมาะสมกับผู้ฟัง เช่น นำเสนอเรื่องความรู้ทางการเงินให้กับนักเรียน คุณก็ควรเลือกใช้คำที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ใช้ศัพท์เทคนิคเยอะเกินไป เป็นต้น หากคุณเลือกใช้คำพูดที่ไม่ตอบโจทย์กับกลุ่มผู้ฟัง มันก็จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าไม่น่าฟัง ฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือไปสนใจเรื่องอื่นแทน
อย่าเล่าเรื่องราวของคุณด้วยรายละเอียดที่ไร้ประโยชน์ เช่น “เมื่อวันอังคารที่แล้วฉันกำลังพาสุนัขไปเดินเล่นและ…หรือเดี๋ยวก่อนวันพุธ ? ไม่สิ น่าจะเป็นวันอังคาร อืม ตอนนี้ฉันไม่แน่ใจ” การพูดพล่ามเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง คุณควรมีสคริปต์หรือกำหนดรายละเอียดไว้ว่าจะพูดอะไรบ้าง มันควรจะกระชับและตรงประเด็น ไม่อย่างนั้นอาจนำไปสู่การพูดมากหรือพูดพล่ามเกินไป ซึ่งมันจะส่งผลให้คุณใช้เวลาในการพรีเซนต์ที่นานขึ้นไปด้วย
การพูดเกินเวลาที่กำหนดมันบ่งบอกได้ว่าคุณวางแผนการพรีเซนต์มาไม่ดี และไม่เคารพเวลาของผู้ฟัง เมื่อผู้ฟังรู้ว่าคุณพูดเกินเวลา พวกเขามักจะไม่อยากฟังต่อหรือหันไปทำอย่างอื่นแทน ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ผู้ฟังรู้สึกว่าคุณไม่เป็นมืออาชีพเอาซะเลยก็ควรใช้เวลาตามที่กำหนดไว้จะดีที่สุด
ผู้ฟังของคุณสามารถอ่านทุกคำในสไลด์นำเสนอของคุณได้ การอ่านทุกคำที่มีบนสไลด์ให้พวกเขาฟัง มันจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อและดูไม่โปรมาก ๆ คุณควรใส่คำบนสไลด์ให้น้อยที่สุด เน้นเฉพาะประเด็นสำคัญ คีย์เวิร์ดหลัก ๆ แล้วรายละเอียดที่เหลือคุณควรเป็นคนเล่ามันออกมา
หากคุณพูดแล้วผู้ฟังไม่เข้าใจ หรือต้องขอให้คุณพูดซ้ำ หรือขอให้คุณหยุดพูดเพื่อที่พวกเขาจะได้อ่านข้อมูลบนหน้าสไลด์ แสดงว่าคุณกำลังทำผิดพลาด คุณควรใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกข้อมูลที่จะนำมาใส่ไปจนถึงการออกแบบสไลด์เพื่อให้อ่านง่าย
พูดเกินเวลา ไม่รู้ว่าต้องพูดอะไรต่อ พูดแล้วประหม่า รู้สึกไม่มั่นใจเอาซะเลย หรือลืมใส่ประเด็นสำคัญที่ต้องนำเสนอ ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นได้ถ้าคุณไม่ฝึกซ้อมก่อนนำเสนอจริง หรือฝึกซ้อมน้อยเกินไป การฝึกซ้อมที่ดีจะช่วยให้คุณพรีเซนต์ออกมาได้เพอร์เฟคและน่าฟังมากขึ้น
ไม่ควรมีข้อแก้ตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย เพราะมันบ่งบอกได้ว่าคุณไม่ได้ทำการตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะพรีเซนต์ ก่อนการพรีเซนต์จริง คุณควรทดลองเปิดสไลด์ในสถานที่จริงหรือทดลองใช้โปรแกรมนำเสนองานก่อนเสมอ และในวันจริงก็ควรไปถึงก่อนเวลาเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดปัญหาทางเทคนิคชึ้น ไม่อย่างนั้นมันจะส่งผลต่อข้อมูลส่วนที่เหลือของงานนำเสนอ
เลี่ยงการใช้เอฟเฟกต์ เช่น ข้อความเด้งหมุน ขยาย หรือลอยไปมา ที่จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกลายตาหรือปวดหัว หากคุณต้องทำให้ภาพมันเคลื่อนไหว ข้อความควรอยู่กับที่และมีสีที่มองเห็นได้ชัด ผู้ฟังส่วนใหญ่มักจะไม่จดจำลูกเล่นหรือเอฟเฟกต์แปลก ๆ แต่พวกเขาจะจดจำเนื้อหาและความสามารถของคุณในการนำเสนอมากกว่า เพราะฉะนั้นทำให้มันเรียบง่ายและอ่านง่ายเข้าไว้
อารมณ์ขันที่ดีสามารถช่วยให้การนำเสนอของคุณดูผ่อนคลายและเป็นกันเองมากขึ้นได้ แต่ก็ควรระวังการเล่นมุกที่ไม่สุภาพด้วย เพราะจากที่มันจะตลก มันอาจทำบรรยากาศแย่ลงไปเลย โดยเฉพาะมุกที่เกี่ยวกับการล้อปมด้อย หักหน้าคนอื่น หรือมุกที่สื่อไปในทางคุกคาม เป็นต้น
การพรีเซนต์โดยที่หันไปมองหน้าจอตลอดเวลา หรือก้มมองพื้นมองเพดานบ้าง เพราะคุณไม่อยากสบตากับผู้ฟัง การทำแบบนี้จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกอึดอัด และรู้สึกว่าไม่เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอนี้ ทางที่ดีคุณควรเรียนรู้ความสำคัญของภาษากาย และควรสบตาผู้ฟังตลอดเวลาที่พูดเพราะมันจะทำให้คุณดูเป็นมิตรและดูน่าเชื่อถือมากขึ้น
สไลด์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมให้การนำเสนอของคุณลื่นไหลและน่าฟังมากขึ้น การออกแบบสไลด์ที่ไม่ดี เช่น ตัวอักษรเล็กเกินไป ใช้สีพื้นหลังที่ลายตา เลือกใช้ภาพประกอบที่ไม่คมชัด ฯลฯ มักส่งผลให้ผู้ฟังหลุดโฟกัสไปจากการนำเสนอ หรือแย่กว่านั้นคือพวกเขาอาจมองว่าคุณไม่น่าเชื่อถือไปเลย
มาอัปสกิลการทำสไลด์นำเสนองานให้เก่งขึ้น ออกแบบสไลด์ด้วยตัวเองให้ออกมาดูสวยและอ่านง่าย กับคอร์ส Shortcut PowerPoint Design คอร์สเรียนที่จะสอนเทคนิคของมืออาชีพในการออกแบบสไลด์พรีเซนเทชั่นให้ดูสวย น่าสนใจ อ่านข้อมูลง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกงาน
ที่มาข้อมูล