การสอบ TU-GET มี 2 รูปแบบการสอบ คือ TU-GET (PBT) กับ TU-GET (CBT) ซึ่งความแตกต่างกันทั้งเนื้อหาที่ออกสอบ การวัดผลคะแนน การประกาศผล รวมถึงราคาในการสมัครสอบ โดยจะได้อธิบายรายละเอียดและเปรียบเทียบความแตกต่างของทั้ง 2 รูปแบบการสอบเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจว่าจะเลือกสอบแบบใดที่เหมาะกับตัวเอง
TU-GET (PBT) : ผู้ที่ต้องการสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ (อินเตอร์) ทั้ง ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และหลักสูตรประกาศนียบัตร รวมถึงผู้ที่ต้องการสมัครเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน
TU-GET (CBT) : เช่นเดียวกับข้อสอบ PBT และรวมถึงผู้ที่ต้องการลองทำข้อสอบ TOEFL เนื่องจากข้อสอบ TU-GET (CBT) สามารถเทียบเคียงได้กับข้อสอบ TOEFL ทั้งเนื้อหา คะแนน และวิธีการทำข้อสอบ
TU-GET (PBT) คือ การสอบแบบกระดาษ (Paper-based test) เป็นการสอบระบบปกติ โดยมีกระดาษคำถาม และกระดาษคำตอบให้ผู้เข้าสอบเลือกฝนคำตอบลงกระดาษ
TU-GET (CBT) คือ การสอบกับคอมพิวเตอร์ (Computer-based test) เป็นการสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยผู้เข้าสอบต้องตอบคำถามผ่านคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสอบนั้นๆ
TU-GET (PBT) : ข้อสอบ TU-GET (PBT) มีจำนวนรวม 100 ข้อ คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน ให้เวลาในการทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 ทักษะ ดังนี้
Structure (โครงสร้างภาษา) จำนวน 25 ข้อ คะแนนเต็ม 250 คะแนน แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
- Sentence Completion เป็นการเติมช่องว่างให้ถูกต้องตามโครงสร้างภาษาและทักษะด้านการเขียน มีจำนวนประมาณ 12 - 13 ข้อ
- Error Identification เป็นเลือกข้อที่ผิดจากที่โจทย์กำหนด โดยพิจาณาจากโครงสร้างภาษาและทักษะด้านการเขียน มีจำนวนประมาณ 12 - 13 ข้อ
Vocabulary (คำศัพท์) จำนวน 25 ข้อ คะแนนเต็ม 250 คะแนน ในพาร์ทนี้จะวัดทักษะในด้านการเลือกใช้คำได้ถูกต้องตามบริบทและความหมาย
Reading (การอ่าน) จำนวน 50 ข้อ คะแนนเต็ม 500 คะแนน ประกอบด้วย 6 บทความ บทความละ 5-8 ข้อ
TU-GET (CBT) : ข้อสอบ TU-GET (CBT) มีจำนวนรวม 62 ข้อ คะแนนเต็ม 120 คะแนน ให้เวลาในการทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง โดยรูปแบบการสอบประกอบไปด้วย 4 ทักษะ ดังนี้
Listening (การฟัง) จำนวน 30 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน
- Conversation 2 - 3 บทสนทนา บทสนทนาละ 5 ข้อ
- Lecture 3 - 4 บทบรรยาย บทบรรยายละ 5 ข้อ
Reading (การอ่าน) จำนวน 30 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน ประกอบด้วย 3-4 บทความ บทความละ 8-10 ข้อ
Speaking (การพูด) เป็นการสอบแบบอัดเสียงกับคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน โดยคำถามจะเกี่ยวกับหัวข้อที่กำหนดให้ และให้ผู้สอบพูดอภิปรายแสดงความคิดเห็น (ลักษณะคล้ายกับ Independent Task ของ TOEFL iBT)
Writing (การเขียน) เป็นการสอบโดยการพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ข้อ คะแนนเต็ม 30 คะแนน โดยคำถามจะเกี่ยวกับหัวข้อที่กำหนดให้ และให้ผู้สอบเขียนอภิปรายแสดงความคิดเห็นความยาวประมาณ 300-350 คำ (ลักษะคล้ายกับ Independent Task ของ TOEFL iBT)
TU-GET (PBT) : ดูคะแนนทางออนไลน์ได้หลังวันสอบประมาณ 3 วัน และจัดส่งผลสอบตัวจริงทางไปรษณีย์ ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากวันสอบ
TU-GET (CBT) : ดูคะแนนทางออนไลน์ได้หลังวันสอบประมาณ 15 วัน และจัดส่งผลสอบตัวจริงทางไปรษณีย์ ประมาณ 1 เดือนหลังจากวันสอบ
TU-GET (PBT) : เปิดรับสมัครในระบบทุกวันที่ 1-15 ของแต่ละเดือน และสอบวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนนั้นๆ (กรณีล่าช้าให้ไปสมัครด้วยตนเองที่สถาบันภาษา ม.ธรรมศาสตร์ รังสิตหรือท่าพระจันทร์)
TU-GET (CBT) : เปิดรับสมัครในระบบทุกวันที่ 16-30/31 ของแต่ละเดือน และสอบวันอาทิตย์ที่สองของเดือนถัดไป (กรณีล่าช้าให้ไปสมัครด้วยตนเองที่สถาบันภาษา ม.ธรรมศาสตร์ รังสิตหรือท่าพระจันทร์)
TU-GET (PBT) : สมัครในเวลาปกติ 500 บาท
TU-GET (CBT) : สมัครในเวลาปกติ 1,000 บาท
คอร์สแนะนำ
เตรียมตัวพร้อมสอบ TU-GET กับคอร์ส COMPLETE TU-GET by ครูพี่ทาม์ย ครบสมบูรณ์ทุกพาร์ทแบบเจาะลึก พร้อมสอบเสมือนจริง สมัครเรียนเลย >> https://vcourse.ai/courses/164
ที่มาข้อมูล