4 แกรมม่า IELTS คว้า Band 6.0
1108 views | 15/11/2022
Copy link to clipboard
Nong Tanakorn
Content Creator

ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องสอบ IELTS ได้ Band 6.0 ต้องรู้แกรมม่าเรื่องใดบ้าง? 4 แกรมม่าที่ควรรู้เพื่อการสอบ IELTS ให้ได้ Band 6.0 มีดังนี้



Passive voice

Passive Voice คือประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ เป็นการเปลี่ยนมาจากประโยค Active Voice โดยการสลับที่จากกรรมมาเป็นประธาน


ตัวอย่าง

   Active Voice: I invented this machine.

                      (ฉันคิดค้นเครื่องจักรนี้)

 

   Passive Voice: This machine was invented by me.

                         (เครื่องจักรนี้คิดค้นโดยฉัน)


หลักการเปลี่ยนประโยค Active Voice เป็น Passive Voice

1. นำกรรมของประโยค Active ไปเป็นประธานของประโยค Passive

2. ใช้ Verb to be ให้ถูกต้อง คล้อยตามประธาน

3. เปลี่ยนคำกริยาแท้ให้เป็น V.3

4. นำประธานของ Active ไปเป็นกรรมของ Passive โดยวางไว้หลัง by 


Relative clauses

Relative Clause อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือน Adjective โดยตามหลัง Relative Pronoun (who, which, that, whom, whose, where, why) เพื่อบอกให้รู้ว่าสิ่งที่กำลังพูดถึงอยู่คือ สิ่งใดหรือใคร มี 2 ประเภทคือ


1. Defining Relative Clause บอกสิ่งที่กำลังพูดถึง (ถ้าขาดไปจะไม่รู้ว่าพูดถึงอะไร)

   e.g. The boy who plays football over there is my son.

          (เด็กผู้ชายที่เล่นฟุตบอลตรงนั้นคือลูกชายของฉัน)

*‘ who plays football over there’ ขยาย The boy ที่กำลังพูดถึงอยู่ว่าคือคนไหน 


การใช้ Defining Relative Clause

1. ทำหน้าที่เสมือนคำคุณศัพท์ (Adjective) เพื่อขยายนามที่อยู่ข้างหน้าให้ได้ใจความสมบูรณ์ชัดเจนว่า หมายถึง ใคร สิ่งไหน หรือ ของใคร

2. ไม่มีเครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างนามกับ Defining Relative Clause

3. ขึ้นต้นด้วย Relative Pronoun ที่ต้องสอดคล้องกับนามที่ขยาย เช่น ถ้าขยายนามที่เป็นคน Relative Pronoun ก็ต้องเป็นคำที่ใช้แทนคน


2. Non-defining Relative Clause บอกข้อมูลเพิ่มเติมของสิ่งที่กำลังพูดถึง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลนี้ก็เข้าใจได้ว่าพูดถึงอะไร

    e.g. Anna told me about her new job, which she's enjoying a lot.

         (แอนนาเล่าเรื่องงานใหม่ของเธอให้ฉันฟัง ซึ่งเธอสนุกสนานมาก)

*‘which she's enjoying a lot’ เป็นการบอกข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งถึงไม่บอกก็ได้


การใช้ Non-defining relative Clause

1. เป็น clause ที่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้ได้รายละเอียดมากขึ้น แต่ไม่มีความจำเป็นกับใจความของประโยค

2. ต้องมีเครื่องหมาย comma (,) คั่นข้างหน้าและข้างหลัง clause เสมอ

3. ใช้ relative pronouns ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น who, whom ,whose, which เท่านั้น ใช้ that ไม่ได้เด็ดขาด


Second conditional

Conditional Sentences (if-Clause) คือ ประโยคแสดงเงื่อนไข ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ If clause ประโยคเงื่อนไข ขึ้นต้นด้วย If (เป็นเงื่อนไข) และ Main clause ประโยคหลัก (เป็นผลที่ตามมา) Conditional มี 4 รูปแบบคือ First Condition, Second Condition, Third Condition และ Mixed conditionals ซึ่งจะคว้า Band 6.0 จำเป็นต้องรู้และเข้าใจ Second conditional


Second Condition (Type 2) ใช้เมื่อเป็นเหตุการณ์สมมติหรือสิ่งที่ไม่เป็นความจริงได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

โครงสร้าง If S + V.2, S + would + V.inf

หรือ         S + would + V.inf + if S + V.2


e.g. If you studied hard, you would pass the exam.

      (ถ้าคุณตั้งใจเรียน คุณก็จะสอบผ่าน)


e.g. I would come to work early if I lived near my office.

      (ฉันจะมาทำงานแต่เช้าถ้าฉันอาศัยอยู่ใกล้ออฟฟิศ)


ข้อสังเกต : Verb to be ในประโยค if จะไม่ใช้ was แต่ใช้ were แม้ว่าจะเป็นประธานเอกพจน์


subordinate clauses: although, while, so that

Clause (อนุประโยคหรือประโยคย่อย) คือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วย ประธานและกริยา เป็นส่วนหนึ่งของประโยค (Sentence) แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้


1. Main clause หรือ Independent Clause คือประโยคใจความหลัก เป็นประโยคที่มีความสมบูรณ์ในตัว ประกอบด้วยประธานและภาคแสดง เช่น

   My father is a doctor.

   My father = ประธาน / is a doctor = ภาคแสดง


2. Subordinate clause หรือ Dependent Clause คือ อนุประโยค เป็นประโยคที่ไม่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง มักใช้ประกอบ Main clause เพื่อขยายหรืออธิบายให้มีความสมบูรณ์ โดย Subordinate clause มักขึ้นต้นด้วย Subordinating Conjunction เช่น because, if, when, unless, until, while, whereas, as soon as


Subordinate clause แบ่งตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด คือ

1. Noun Clause (นามานุประโยค) คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นคำนาม ประกอบไปด้วยประธานและกริยา มักขึ้นต้นด้วย How That What Whatever When Where Whether Which Whichever Who Whoever Whom Whomever Why


หน้าที่ของ Noun Clause

- ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยา

   e.g. What happened was great.

- ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา โดยจะตามหลังคำกริยา

   e.g. I don’t know how he can be reached.

- ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท

   e.g. John is the owner of that red car parked outside.

- ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม (Complement)

   e.g. She knows that I am a teacher.


2. Adjective Clause (คุณานุประโยค) คือ อนุประโยคที่ทำหน้าเป็นคำคุณศัพท์เพื่อขยายคำนามและสรรพนาม จะนำหน้าด้วยคำเชื่อม 2 ชนิด คือ

   Relative Pronoun – who whom that which whose

     e.g. I don’t like people who drink water without a straw.

  Relative Adverb – when where why

    e.g. We visited the house where our mother was born.


3. Adverb Clause (วิเศษณานุประโยค) คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์เพื่อขยายคำกริยา คำคุณศัพท์ คำวิเศษณ์ และทั้ง Clause มี 9 ชนิด ดังนี้

   1. ขยายกริยาเผื่อแสดงเวลา (Adverb Clause of Time) เช่น when, whenever, while, whilst, before, after, as soon as.

      e.g. We were watching TV when the bell rang.

   2. ขยายกริยาเผื่อบอกสถานที่ (Adverb Clause of Place) เช่น where, wherever.

      e.g. I will follow you wherever you go.

   3. ขยายกริยาเพื่อแสดงอาการ (Adverb Clause of Manner) เช่น as, as if, although, albeit

      e.g. As you are sorry, I’ll forgive you this one time.

   4. ขยายกริยาวิเศษณ์หรือคุณศัพท์เพื่อแสดงการเปรียบเทียบ (Adverb Clause of Comparison) เช่น than, as…as, so…as

      e.g. Tom is not so clever as you think.

   5. ขยายกริยาหรือคุณศัพท์เพื่อแสดงเหตุผล (Adverb Clause of Cause/Reason) เช่น because, as, since.

      e.g. Please go ahead of me, because I have something to do.

   6. ขยายกริยาเพื่อแสดงจุดมุ่งหมาย (Adverb Clause of Purpose) เช่น so (that), in case, lest, in order that, for fear (that)

      e.g. He did everything in order that he could get the prize.

   7. ขยายกริยา คุณศัพท์ วิเศษณ์เพื่อแสดงผลลัพธ์ (Adverb Clause of Result) เช่น so...that, such...that

      **so+ adj. +  that + Clause = มากเสียจนกระทั่ง

      e.g. Tom worked so hard that he succeeded.

   8. ขยายกริยาเพื่อแสดงเงื่อนไข (Adverb Clause of Condition) เช่น if, unless, provided that, on condition that.

      e.g. You won’t succeed unless you work hard.

   9. ขยายกริยา หรือ คุณศัพท์ เพื่อแสดงการยอมรับ (Adverb Clause of Concession) เช่น thought, although, however, whatever.

      e.g. she is persistent though she doesn’t look so.

 

 

คอร์สแนะนำ

✔คอร์ส IELTS Reading by Paddington เพิ่มคะแนน Reading เตรียมตัวไปเรียนต่างประเทศ

สมัครเรียนเลย 👉https://vcourse.ai/courses/228


✔คอร์ส IELTS Vocabulary by Paddington รวมคำศัพท์ที่ออกสอบบ่อย

สมัครเรียนเลย👉https://vcourse.ai/courses/229


✔คอร์ส IELTS Writing by Paddington ปูพื้นฐานและให้เทคนิคการเขียน

สมัครเรียนเลย👉https://vcourse.ai/courses/240