1. เปิดการพรีเซนต์ให้น่าสนใจ สไลด์เปิดการพรีเซนต์ควรมีข้อความที่น่าสนใจหรือรูปภาพที่สื่อได้ชัดเจนว่าคุณจะนำเสนอเรื่องอะไร เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ตั้งแต่เริ่ม
2. ทำให้การนำเสนอของคุณเรียบง่าย โดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าสไลด์ของคุณไม่มีคำหรือตัวอักษรมากเกินไป เลือกใช้สีที่อ่านและมองเห็นได้ง่าย
3. นำเสนอหนึ่งความคิดต่อหนึ่งสไลด์ วิธีนี้จะทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น เพราะผู้ฟังจะได้จดจ่อกับแนวคิดเดียวที่ไม่ทำให้พวกเขาสับสน และยังช่วยป้องกันการใส่ข้อมูลที่มากเกินไปอีกด้วย
4. ความเกี่ยวข้องและคุณภาพของเนื้อหาคือกุญแจสำคัญ ข้อความที่คุณนำเสนอบนสไลด์ควรจะมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณพูด ซึ่งรวมถึงรูปภาพด้วยเช่นกัน
5. เปลี่ยนข้อมูลเป็นกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ ใช้อินโฟกราฟิกเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยการแปลงข้อความยาว ๆ เป็นสัญลักษณ์ ไอคอน หรือรูปทรงต่าง ๆ ตามหัวข้อนั้น ๆ
6. ใช้เทมเพลตนำเสนอ ปัจจุบันมีเทมเพลตสวย ๆ ให้เลือกใช้มากมาย โดยมีทั้งแบบให้ดาวน์โหลดได้ฟรีและเสียเงิน การเลือกใช้เทมเพลตที่ถูกออกแบบมาอย่างดีจะช่วยทำให้สไลด์ของคุณดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น
7. เลี่ยงการใช้เทมเพลตที่มีสีมากเกินไป สีที่เยอะเกินไปจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกลายตา ไม่รู้จะโฟกัสตรงไหนดี และมันยังดูไม่เป็นมืออาชีพเอามาก ๆ ด้วย
8. เลือกแบบอักษรที่เหมาะสม ฟอนต์ที่คุณเลือกใช้สามารถทำให้สไลด์ดูดีหรือแย่ลงได้ คุณจึงควรใส่ใจกับการเลือกฟอนต์ให้ดี โดยเน้นการใช้ฟอนต์แบบมาตรฐานที่อ่านง่าย และมองเห็นได้ชัดเจน
9. ใส่ใจกับขนาดของตัวอักษร ขนาดของฟอนต์ที่ดีจะช่วยให้ผู้ฟังอ่านเนื้อหาได้รวดเดียว และมีประสบการณ์ที่ดีกับงานนำเสนอ ซึ่งขนาดฟอนต์ที่เหมาะสมสำหรับข้อความคือ 24 - 36pt ขนาดฟอนต์สำหรับหัวข้อคือ 36 - 44pt และขนาดฟอนต์สำหรับข้อความอธิบายกราฟหรือไดอะแกรมคือ 18 - 20pt
10. ใช้รูปภาพช่วยให้จำง่าย เพราะรูปภาพนั้นมีพลังมากกว่าคำพูด และสมองของคนเราประมวลผลรูปภาพได้เร็วกว่าข้อความ การใส่รูปภาพในสไลด์นำเสนอจะช่วยเพิ่มความดึงดูดให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมมากขึ้น
11. วางแผนการพูดให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด ลองซ้อมก่อนพูดจริงว่าคุณพูดเกินเวลาไหม และพยายามทำบทพูดให้มันยืดหยุ่น คือสามารถตัดและสรุปได้หากเวลาของคุณกำลังจะหมด
12. ใช้คำง่าย ๆ ที่กระชับ เข้าใจง่าย และมีประสิทธิภาพที่สุดในการสื่อความหมายที่ต้องการ เพราะผู้ฟังจะเข้าใจมันได้ในทันที
13. รักษาท่าทางของคุณให้ดี ท่ายืนและการเคลื่อนไหวเวลาพูด ถือเป็นภาษากาย ซึ่งมันมีพลังและส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ฟัง ภาษากายของคุณควรให้ความรู้สึกมั่นใจ
14. ชี้ หัน และพูด เทคนี้จะสามารถทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยชี้ไปที่ภาพหรือข้อความบนสไลด์ แล้วหันไปมองผู้ฟัง และพูดเพื่ออธิบายรายละเอียด การทำเช่นนี้จะทำให้คุณได้สบตากับผู้ฟัง ช่วยกระตุ้นให้พวกเขามีส่วนร่วมมากขึ้น
15. เน้นด้วยการหยุดชั่วคราว การหยุดชั่วคราวเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งของผู้พูด คุณสามารถใช้การหยุดชั่วคราวเพื่อเน้นประเด็นที่สำคัญได้
16. หายใจและผ่อนคลาย บางคนอาจประหม่าโดยที่ไม่รู้ตัว และมักจะเผลอกลั้นหายใจจนพูดตะกุกตะกักหรือเสียงสั่น การหายใจอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย และยังช่วยให้เสียงที่พูดออกมาชัดเจน
17. ระวังจังหวะการพูด การพูดช้าจะช่วยให้คุณคุมจังหวะได้ดีและทำให้น้ำเสียงที่ออกมาดูมั่นใจ ฟังชัด หากคุณพูดเร็วเกินไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะไม่น่าฟังแล้ว มันยังจะทำให้เสียงสั่นหรือหายใจไม่ทันได้ด้วย
18. ใช้มือของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ การเคลื่อนไหวของมือมีบทบาทสำคัญต่อการนำเสนอ คุณควรวางแขนไว้ข้างลำตัวอย่างสบาย ๆ เพื่อให้มีอิสระในการแสดงท่าทางตามความเหมาะสม อย่าเอามือล้วงกระเป๋าหรือเอามือไพล่หลัง เพราะมือของคุณสามารถช่วยเน้นย้ำข้อความที่พูดให้ดูน่าเชื่อถือได้
19. ฝึกฝนก่อนพูดจริง ยิ่งคุณใช้เวลาฝึกฝนมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีโอกาสพัฒนามากขึ้นเท่านั้น ลองฝึกพูดราวกับว่าคุณอยู่ต่อหน้าผู้ฟัง นึกภาพตัวเองต่อหน้าผู้ฟังที่กำลังพูดอย่างมั่นใจ
20. ปิดจบให้น่าจดจำ ปิดด้วยคำพูดที่ทรงพลัง อย่างเรื่องราวน่าจดจำ หรือคำกระตุ้นการตัดสินใจ หรือเรื่องราวที่คุณได้เล่าไว้ตั้งแต่เริ่มต้นก็ได้ และอย่าลืมปิดท้ายการพรีเซนต์ด้วยการขอบคุณผู้ฟังที่สละเวลามาฟังคุณ
ที่มาข้อมูล