ระบบการทำงานในยุคสมัยนี้ พนักงานไม่จำเป็นต้องเข้าบริษัทหรืออฟฟิศก็สามารถผลิตชิ้นงานสำเร็จและมีประสิทธิภาพได้ หลายองค์กรจึงหันมาใช้วิถีการทำงานแบบ work from home หรือ work from anywhere ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ สถานที่ทำงานไม่มีผลต่อผลงาน แต่มุ่งเน้นไปที่ตัวพนักงานและวัฒนธรรมขององค์กรมากกว่า ด้วยเหตุนี้องค์กรจึงต้องหาแนวทางในการสร้าง Happy Digital Workplace โดยให้ความสำคัญกับสุขภาวะของพนักงานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อป้องกันปัญหาการ Burn Out ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดีให้คงอยู่คู่องค์กรได้อย่างยาวนานด้วย 5 กลยุทธ์ต่อนี้ไป จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้าง Happy Digital Workplace ได้ ไปดูกันเลย
พนักงานสามารถยืมอุปกรณ์ออฟฟิศทุกชิ้นไปใช้ที่บ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ค จอมอนิเตอร์ เก้าอี้ทำงาน พร้อมทั้งระบบที่สามารถล็อกอินเข้าถึงข้อมูลงานต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย และมีการเพิ่มช่องทางการสื่อสารที่ทั่วถึงและสม่ำเสมอ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สะดวก ไม่สะดุดแม้อยู่บ้าน
สุขภาพกายและใจที่ดี คือจุดเริ่มต้นในการสร้างสรรค์งานดี ๆ เช่น ในช่วงโควิดระบาดก็มีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงการรักษา มีช่องทางให้คำแนะนำและข้อมูลที่เกี่ยวกับโควิด-19 มีการพบแพทย์ออนไลน์ได้ มีการจัดคลาสออกกำลังกายออนไลน์ทุกสัปดาห์ หรือมีช่องทางให้พนักงานปรึกษาสุขภาพจิตกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอาการเครียดและอาการ Burn Out จากการทำงาน เป็นต้น
เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานด้วยกันยังคงเป็นไปด้วยดี จึงควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อรักษาและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กรในช่วง WFH ไม่เพียงแค่กิจกรรมทางออนไลน์ แต่รวมถึงกิจกรรมออฟไลน์ที่คัดเลือกและจัดส่งให้เป็นของขวัญในคอนเซ็ปต์ต่าง ๆ แก่พนักงานถึงที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ เช่น ชุดปลูกต้นไม้ ชุดทำขนม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความใส่ใจ ซึ่งช่วยเชื่อมโยงพนักงานกับองค์กรเข้าด้วยกัน
มีการประเมินผลงาน พูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ เพราะการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาประสิทธิภาพการทำงาน อาจมีการใช้ระบบต่าง ๆ เข้ามาช่วยให้พนักงานสามารถอัปเดตผลงานและได้รับฟีดแบ็คการทำงาน จากเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานแบบเรียลไทม์และต่อเนื่อง นอกจากนี้การทำแบบประเมิน Employee Engagement Survey ก็สำคัญเช่นกัน เพื่อวัดความสัมพันธ์และพึงพอใจของพนักงานในองค์กรที่มีต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และทีมงาน
อีกหนึ่งวัฒนธรรมที่สำคัญ คือการเสริมทักษะการทำงานในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้าน Soft Skill ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถช่วยเสริมเสริมด้านการทำงานในสถานการณ์ที่ต้อง work from home เช่น การสื่อสารเพื่อสร้างความประทับใจในที่ทำงาน วิธีการเอาชนะอาการ Burn Out ฯลฯ หรือจะเป็นคลาสเรียนเสริมทักษะต่าง ๆ ด้าน Hard Skill ที่พนักงานอาจจะสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจได้ สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความประทับใจของพนักงานที่มีต่อองค์กรได้
การสร้าง Happy Digital Workplace ไม่ได้มีเพียงการพัฒนาระบบออนไลน์ เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงสุขภาวะของพนักงานมาเป็นสิ่งสำคัญด้วย หากองค์กรของคุณมีการใช้นโยบาย work from home ลองนำ 5 กลยุทธ์ สร้าง Happy Digital Workplace ไปปรับใช้กันดู
ที่มาข้อมูล