Career Path หรือเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ คือ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่คน ๆ หนึ่งจะไปถึงได้ เพราะทุกตำแหน่งงาน ทุกสายอาชีพย่อมมีเส้นทางแห่งความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเองอยู่แล้ว เช่น พนักงานออฟฟิศที่เริ่มต้นทำงานจากตำแหน่งเล็ก ๆ เมื่อมีการเติบโต ก็ได้ย้ายตำแหน่งไปเรื่อย ๆ จนอาจจะไปถึงจุดสูงสุดของสายอาชีพในระดับผู้บริหาร เป็นต้น
ความสำคัญของเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ หรือว่า Career Path เป็นสิ่งที่กำลังถูกพูดถึงเป็นวงกว้างโดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากหลาย ๆ คนเมื่อทำงานมาสักพักคงเริ่มถามตัวเองแล้วว่า ‘ถ้าทำงานอยู่ที่นี่ต่อไป อีก 3-7 ปี เราจะมีความก้าวหน้า มีอนาคตในสายอาชีพของตัวเองยังไงบ้าง’ เพราะใครล่ะที่จะไม่อยากเติบโตในหน้าที่การงานที่ตัวเองทำอยู่ ในขณะเดียวกันการวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพก็ยังเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีแรงจูงใจที่จะทำงานให้ดี เพื่อที่จะได้ก้าวหน้าในหน้าที่การงานอีกด้วย
ซึ่งจริง ๆ แล้วการวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพเป็นหน้าที่ของ HR หรือว่าหน่วยพัฒนาบุคคล เพราะหากองค์การไม่สามารถอธิบายและตอบคำถามในประเด็นนี้ได้ แน่นอนว่าพนักงานที่ต้องการเติบโตและก้าวหน้าในอาชีพย่อมคิดที่จะหันหลังให้กับองค์กรนั้น ๆ เพราะพวกเขาไม่เห็นภาพตัวเองว่าจะมีความก้าวหน้าในสายอาชีพที่กำลังทำอยู่อย่างไร และนี่อาจเป็นเหตุให้องค์กรเสียคนเก่ง ๆ ไปได้เช่นกัน
เมื่ององค์กรไม่สามารถสร้างภาพที่พนักงานอยากเห็นได้ วิสัยทัศน์ (Vision) ไม่ตรงกัน พนักงานหลายคนจึงเลือกที่จะวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้แน่นอนหากวางแผนดี ๆ แต่ก่อนที่จะไปวางแผนกัน เราต้องรู้ก่อนว่าลักษณะรูปแบบของเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพมีอะไรบ้าง
หลายคนอาจเข้าใจผิดไปว่าลักษณะของเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพมันคือ ‘การเลื่อนตำแหน่ง’ อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วลักษณะของเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน ดังนี้
1. การเติบโตแบบแนวตั้ง คือ การเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งในสายงานเดิม จากพนักงานสู่ระดับบริหาร เช่น
2. การเติบโตแบบแนวนอน คือ เป็นการโอนย้าย หรือสับเปลี่ยนหมุนเวียนงานโดยตำแหน่งงานอาจเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ แต่เนื้องานจะแตกต่างจากเดิมเป็นงานรูปแบบใหม่ ๆ บางที่อาจเรียกว่าการเติบโตแบบเครือข่าย
การกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพไม่มีสูตรตายตัว สิ่งสำคัญคือเรามองอนาคตของตัวเองไว้อย่างไรร่วมด้วย ซึ่งการวางแผนความก้าวหน้าในสายอาชีพที่ดีควรแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
เมื่อเอาแผนผังองค์กรมากางแล้ว เราอยู่ในจุดไหน ตำแหน่งใด และตำแหน่งที่สูงกว่าเราคือตำแหน่งอะไร ดูตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับเรา แล้วเราอยากไปให้ถึงไหม หรือว่าตอนนี้แผนผังองค์กรกำลังให้ความสำคัญกับหน่วยงานไหนเป็นพิเศษเพื่อที่ว่าเราจะได้เปลี่ยนสายงานจากการเติบโตในแนวดิ่งไปเป็นแนวนอนก็ได้
แต่หากเรายืนกรานที่จะอยากเติบโตแบบเลื่อนตำแหน่ง ก็ให้เราศึกษาเรียนรู้ขอบเขตงาน ความรับผิดชอบทุกอย่างของตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับที่เราเล็งไว้ให้ได้มากที่สุด
เมื่อสำรวจตำแหน่งบนแผนผังองค์กรแล้ว เอาปากกามาวงแล้วว่าเราอยากเติบโตในสายอาชีพนี้จริง ๆ สิ่งที่เราต้องถามตัวเองอีกคำถามหนึ่งก็คือ ความฝันและความต้องการที่แท้จริงของเราคืออะไร ? เพราะบางครั้งทิศทางการทำงานที่เรามุ่งหน้าที่จะเติบโตอย่างเอาเป็นเอาตาย มันอาจจะสวนทางกับเส้นทางชีวิตบั้นปลายที่เราอยากจะมีก็ได้ ดังนั้นเราจึงควรมีเป้าหมายระยะสั้น (Short Term) เป้าหมายระยะกลาง (Medium) และเป้าหมายระยะยาว (Long Term) ที่จะเป็นแผนสุดท้ายของชีวิตเอาไว้
การบินเดี่ยวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากในการวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ การเพิ่มเปอร์เซ็นต์ให้แผนของเราสำเร็จได้ก็คือ การมีผู้สนับสนุนที่ดี หัวหน้าที่ดีจะช่วยและสนับสนุนในสิ่งที่พนักงานอยากทำให้สำเร็จ และเพื่อนร่วมงานที่ดีจะไม่ลังเลที่จะสอนงานเพื่อนร่วมงานแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนั้นให้เรามองหาผู้สนับสนุนและแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่าเราอยากก้าวหน้าในอาชีพอย่างไรต่อไป
นอกจากนี้ตัวเราเองยังต้องเรียนรู้ พัฒนาตัวเองให้เหมาะสม สอดคล้องไปกับเส้นทางที่เราได้วางแผนเอาไว้อีกด้วยค่ะ เพราะแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีคุณสมบัติที่จะเลื่อนตำแหน่งหรือก้าวหน้าในอาชีพได้ถ้าคุณไม่แสดงให้องค์กรเห็นว่าคุณมีทักษะที่คู่ควร ซึ่งทักษะที่จำเป็นในการเติบโตในสายอาชีพมีทักษะที่สำคัญแนะนำใน ‘คอร์ส Effective Communication for Effective Result’ ทักษะการสื่อสารแบบผู้นำ การมีทักษะความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง จะช่วยให้คุณพัฒนาในเส้นทางอาชีพของคุณได้ และ ‘คอร์ส10X Productive’ เรียนรู้เคล็ดลับการเพิ่มศักยภาพการทำงานและการใช้ชีวิตแบบก้าวกระโดด สมัครเลย