Video Creator คือ ผู้ที่มีหน้าที่นำคอนเทนต์มาสร้างเป็นวิดีโอในรูปแบบที่หลากหลายให้น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น Video, Vlogs, Reels, Live Stream และ Music Video เป็นต้น ซึ่งหลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นหูเมื่อพูดถึงอาชีพครีเอเตอร์วิดีโอแต่จะคุ้นเคยกับอาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) มากกว่า ซึ่งสองอาชีพนี้มีความคล้ายกันก็จริง แต่อาชีพครีเอเตอร์วิดีโอจะไม่เพียงแค่เด่นในการเล่าเรื่อง มีทักษะการเขียนเท่านั้น แต่ยังต้องเข้าใจกระบวนการทำวิดีโอ มีความรู้เกี่ยวกับการเล่าเรื่องด้วยภาพเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่คิดประเด็น ถ่ายทำ ตัดต่อ (Pre-Pro-Post) จบได้ด้วยตัวเอง
Video Creator ทำอะไรบ้าง
1. ขั้นเตรียมการผลิต (PRE-PRODUCTION)
2. ขั้นการผลิต (PRODUCTION)
3. ขั้นหลังการผลิต (POST-PRODUCTION)
ครีเอเตอร์วิดีโอเป็นอาชีพใหม่ในบ้านเราที่อาจยังไม่บูมมากเท่า Content Creator แต่นั่นก็อาจเป็นโอกาสได้เหมือนกัน โอกาสที่จะได้เชี่ยวชาญในสิ่งที่ยังไม่ได้มีมากในตลาดแรงงาน และสามารถมีรายได้สูง ๆ โดยลักษณะงานของครีเอเตอร์วิดีโอสามารถเป็นได้ทั้งพนักงานประจำ และฟรีแลนซ์ที่จะรับงานเป็นจ็อบ เฉลี่ยรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 18,000 - 76,000 บาท (อ้างอิงจากเว็บไซต์ Glassdoor) หรือบางคนอาจไม่ได้อยากทำงานเบื้องหลัง แต่สนใจอยากเป็นครีเอเตอร์วิดีโอเองซะเลยก็ย่อมได้ค่ะ
ปัจจุบันใคร ๆ ก็สามารถเป็นครีเอเตอร์วิดีโอได้ทั้งนั้นแค่มีมือถือเครื่องเดียว แต่การจะเป็นครีเอเตอร์วิดีโอที่ประสบความสำเร็จ มีรายได้จากการทำวิดีโออย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกเหมือนกัน โดยเราจะเห็นได้ว่ามีหลายคนมากที่ใช้โซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีมาบวกกับความคิดสร้างสรรค์ทำคลิปวิดีโอ จนสามารถสร้างกลุ่มแฟนคลับเล็ก ๆ (Niche Audiences) เป็นของตัวเอง ต่อยอดไปสู่การสร้าง Personal Branding เพิ่มฐานแฟนคลับที่ไม่เหมือนใคร สร้างรายได้ได้ดี
เลือกกลุ่มเป้าหมายหลักและรองของเราว่าควรจะเป็นคนกลุ่มไหน เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือวัยสูงอายุ เป็นต้น เพราะกลุ่มเป้าหมายจะมีผลต่อทิศทางการผลิตเนื้อหาวิดีโอและการวางกลยุทธ์ทางการตลาด หากเราเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนได้ เราก็จะสามารถสร้างเนื้อหาที่เหมาะกับพวกเขาได้ โดยเราต้องศึกษากลุ่มเป้าหมายให้ดีว่าพวกเขาสนใจอะไรเพื่อที่จะหาเนื้อหาที่ดึงดูดใจพวกเขาได้ โดยเนื้อหาที่มาแรงในแต่ละปีก็จะเปลี่ยนไป แต่สรุปเนื้อหาที่ได้รับความนิยมได้ ดังนี้
การเลือกแพลตฟอร์มที่จะลงเนื้อหาหลักเป็นสิ่งสำคัญ เพราะพฤติกรรมการเล่นโซเชียลมีเดียของแต่ละแพลตฟอร์มมักจะแตกต่างกัน เช่น YouTube จะชอบวิดีโอยาว ๆ แต่ TikTok จะชอบวิดีโอสั้น แต่บางคนอาจทำวิดีโอที่สามารถลงได้หลาย ๆ แพลตฟอร์มก็ได้ โดยแพลตฟอร์มฮิต ๆ สำหรับวิดีโอมีดังนี้
การวางคอนเทนต์ เนื้อหาที่จะลงในแต่ละเดือนจะเหมือนกับแผนธุรกิจ เพื่อให้เราได้วางแผนที่จะลงวิดีโอได้อย่างหลากหลายและควบคุมได้ โดยปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ฟรีต่าง ๆ ที่เปิดบริการให้ใช้วางแผนโดยเฉพาะ โดยเราสามารถใช้ซอฟต์แวร์เหล่านี้วางแผนร่วมกันกับคนในทีม เพื่อจัดการเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพ หรือจัดเนื้อหาให้ตรงกับปฏิทินได้อีกด้วย
แน่นอนว่าการทำธุรกิจสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำวิดีโอเราก็ต้องสนใจ third-party tools เครื่องมือที่จะมาช่วยเรื่องการตลาด หรือเครื่องมือหลังบ้านที่จะมาช่วยให้เราเข้าใจผู้ชมที่เข้ามาดูวิดีโอของเรามากยิ่งขึ้น เพิ่มยอดวิว หรือแม้แต่เครื่องมืออย่าง Keyword Research ที่จะมาช่วยให้ผู้คนเห็นวิดีโอเราได้จากการเสิร์ช เช่น
บางคนอยากทำคลิปวิดีโอ เป็นครีเอเตอร์วิดีโอ แต่ไม่มีพื้นฐานเรื่องการตัดต่อวิดีโอเลย ซึ่งเป็นการทำงานที่เสี่ยงมากเพราะไม่รู้ในสิ่งที่ทำดีพอ อาจทำให้เนื้อหาวิดีโอไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่ตั้งใจ การลงทุนเรียนหรือศึกษาเกี่ยวกับการตัดต่อวิดีโอเพื่อเพิ่มสกิลจึงเป็นสิ่งจำเป็น เรียนรู้การใช้ซอฟต์แวร์การตัดต่อเด่น ๆ หรือง่าย ๆ ตามที่เราถนัด
#videocontent #videocreator #contentcreator #ตัดต่อวิดีโอด้วยมือถือ
ที่มาข้อมูล