ข้อสอบ TOEIC Part 5 ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดทักษะความรู้ด้านแกรมม่า แต่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับผู้สอบ ที่เดาทางไม่ออกมาว่าข้อสอบจะออกแกรมม่าเรื่องไหนบ้าง เมื่อไปเจอในข้อสอบจริงอาจทำให้เกิดความประหม่าและลนลานจนพลาดคะแนนสำคัญไป ดังนั้นครั้งนี้ครูพี่อิ๋งได้แนะนำ 7 แกรมม่าที่เจอในข้อสอบ TOEIC บ่อย ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบ
เรื่อง Tense ที่มักเจอในข้อสอบคือ Perfect Tense และ Passive Voice
Perfect Tense ใช้พูดถึงการกระทำนั้นเสร็จสิ้นไปแล้ว ข้อสังเกตง่ายๆ คือจะมี V. to have (have/has/had) ในโครงสร้างประโยค โดยแบ่งตามกาลดังนี้
Past Perfect ใช้เล่าถึงเหตุการณ์หนึ่งซึ่งจบไปแล้วอีกเหตุการณ์จึงค่อยเกิดขึ้น
โครงสร้างประโยค S + had + V.3
คำเชื่อมที่ใช้ after, already, just, yet, until, till, as soon as, when, by the time
ex. I had waited for 2 hours before they arrived.
(ฉันรอมาแล้ว 2 ชั่วโมงก่อนที่พวกเขาจะมาถึง)
ex. They had not believed until they saw it.
(พวกเขาไม่เชื่อ จนกระทั่งได้เห็นเอง)
Present Perfect ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งจบไป และเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วตั้งแต่อดีตแต่ยังมีผลถึงปัจจุบัน
โครงสร้างประโยค S + has/have + V.3
คำเชื่อมที่ใช้ just, already, yet, since, for, ever since, so far
ex. Daniel has just informed us where to meet tomorrow.
(แดเนียลเพิ่งแจ้งเราว่าพรุ่งนี้จะให้ไปเจอกันที่ไหน)
ex. I have known her for years.
(ฉันรู้จักเธอมาหลายปีแล้ว)
Future Perfect ใช้พูดถึงเหตุการณ์ที่คาดว่าจะสิ้นสุดแล้วในอนาคต
โครงสร้างประโยค S + will + have + V.3
ex. I will have seen the dentist Friday evening.
(ฉันคงจะหาหมอฟันเสร็จแล้วตอนเย็นวันศุกร์)
ex. By the time you read this letter, I will have left.
(ขณะที่คุณอ่านจดหมายนี้ ฉันคงไปแล้วนะ)
Passive Voice คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
โครงสร้างประโยค : S + V.to be + V.3
ตัวอย่าง
Active Voice: Lisa writes a letter.
(ลิซ่าเขียนจดหมาย)
Passive Voice: A letter is written by Lisa.
(จดหมายถูกเขียนโดยลิซ่า)
หลักการเปลี่ยนประโยค Active Voice เป็น Passive Voice
1. นำกรรมของประโยค Active ไปเป็นประธานของประโยค Passive
2. ใช้ Verb to be ให้ถูกต้อง คล้อยตามประธาน
3. เปลี่ยนคำกริยาแท้ให้เป็น V.3
4. นำประธานของ Active ไปเป็นกรรมของ Passive โดยวางไว้หลัง by
Pronoun (คำสรรพนาม) คือ คำที่ใช้แทนคำนามเพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำ หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร
Parts of Speech คือ ชนิดหรือประเภทของคำในภาษาอังกฤษมี 8 ชนิด ที่จะทำให้เรารู้ว่าคำนั้นทำหน้าที่อะไร และช่วยให้แต่งประโยคได้ ดังนี้
- Noun (คำนาม) คำที่ใช้เรียกแทนชื่อคน, สัตว์, สิ่งของ, สถานที่
- Pronoun (คำสรรพนาม) คำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อไม่ต้องพูดนามนั้นซ้ำ ทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธานและกรรม
- Verb (คำกริยา) คำที่แสดงอาการหรือการกระทำในประโยค
- Adjective (คำคุณศัพท์) คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม เพื่อบอกลักษณะของนามนั้น ตำแหน่งจะอยู่หน้าคำนามเสมอ หรือตามหลัง Verb to be และ Linking Verb
- Adverb (คำกริยาวิเศษณ์) คำที่มีหน้าที่ขยายกริยา ขยายคุณศัพท์ และขยายกริยาวิเศษณ์ด้วยกันเอง เพื่อบอกให้รู้ว่าทำสิ่งนั้น “ที่ไหน, เมื่อไหร่, อย่างไร”
- Preposition (คำบุพบท) คำที่ใช้บอกตำแหน่ง วันเวลา ทิศทาง สถานที่ หรือบอกความสัมพันธ์ระหว่างนามหรือสรรพนามกับคำอื่น ๆ
- Conjunction (คำเชื่อม) คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ กลุ่มคำกับกลุ่มคำ หรือประโยคกับประโยค
- Interjection (คำอุทาน) คำที่ใช้บ่งบอกอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น โดยมักจะเป็นภาษาพูด
Word Family คือ กลุ่มคำศัพท์ที่มีคำหลักคำเดียวกัน แต่แต่ละคำมีการเติม prefix หรือ suffix ต่างกัน ทำให้มีหน้าที่ของคำแตกต่างกันไป เช่น
suggest (v) แนะนำ
suggestive (adj) เป็นข้อเสนอแนะ
suggestion (n) การเสนอแนะ, ข้อเสนอ
suggestible (adj) ถูกชักชวนได้ง่าย
autosuggestion (n) การแนะนำใจตัวเอง
Conjunctions (คำสันธาน) คือ คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ กลุ่มคำกับกลุ่มคำ หรือประโยคกับประโยค แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
Coordinating Conjunction (CC) คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคที่เป็นประเภทเดียวกัน หรือมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ได้แก่ FANBOYS ดังนี้
For (เพราะ) ใช้เชื่อมประโยที่เป็นเหตุเป็นผลกัน โดยแสดงเหตุ
And (และ) ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นไปในทางเดียวกันหรือเสริมกัน
Nor (ไม่ทั้งสองอย่าง) ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเชิงปฏิเสธทั้งคู่
But (แต่) ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน
Or (หรือ) ใช้เชื่อมประโยคที่แสดงทางเลือก
Yet (แต่) ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน
So (ดังนั้น) ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุผลเป็นผลกัน โดยแสดงผล
Subordinating conjunction (SC) คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคหลัก (Main Clause) กับประโยคย่อย (Subordinate Clause) ที่มีความสำคัญไม่เท่ากัน
while (ในขณะที่), when (เมื่อ), after (ก่อนหน้า)
before (หลังจาก), as soon as (ทันทีที่), once (ครั้งหนึ่ง)
whenever (เมื่อไหร่ก็ตาม), until (จนกระทั่ง), although (แม้ว่า)
though (แม้ว่า), even though (แม้ว่า), whereas (ในขณะที่)
because (เพราะว่า), since (เพราะว่า), so that (เพื่อว่า, เพื่อที่จะ)
as (เพราะว่า), in order that (เพื่อว่า, เพื่อที่จะ), if (ถ้า)
provided that (ถ้า), assuming that (ถ้า), as long as (ตราบเท่าที่)
even if (ถ้า, แม้ว่า), unless (ถ้าหากว่าไม่), how (อย่างไร)
as though (ราวกับว่า), as if (ราวกับว่า), so … that (มากซะจนที่จะ)
Correlative conjunction (คำสันธานที่ต้องใช้คู่กันเสมอ) ใช้เชื่อมประโยค Independent clause ที่มีความหมายสอดคล้องและเท่าเทียมกัน
not only … but also … (ไม่เพียงแต่... แต่อีกด้วย)
either … or … (ไม่ ... ก็ (ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง))
neither … nor … (ไม่...และ (ไม่ทั้งสองอย่าง))
as ... as … (เท่ากัน)
both … and … (ทั้ง...และ)
Preposition (คำบุพบท) คำที่ใช้บอกตำแหน่ง วันเวลา ทิศทาง สถานที่ หรือบอกความสัมพันธ์ระหว่างนามหรือสรรพนามกับคำอื่น ๆ
Comparison of Adjectives คือ การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์มีด้วยกัน 3 ขั้นคือ ขั้นปกติ, ขั้นกว่า, ขั้นสูงสุด
Comparative Adjectives (การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ขั้นกว่า) เป็นการเปรียบเทียบว่า สิ่งหนึ่ง ...(adj.)... กว่าอีกสิ่งหนึ่ง มี 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่ 1: เติม -er ท้ายคำคุณศัพท์ (adjective) และตามด้วย than
โครงสร้างประโยค: S + V. to be + adj. er + than
ex. Anny is taller than Sasha.
(แอนนี่สูงกว่าซาช่า)
รูปแบบที่ 2: เติม more หน้าคำคุณศัพท์ (adjective) และตามด้วย than
โครงสร้างประโยค: S + V. to be + more adj. + than
ex. Physics is more difficult than Math.
(วิชาฟิสิกส์ยากกว่าวิชาคณิตศาสตร์)
Superlative Adjectives (การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ขั้นสูงสุด) เป็นการเปรียบเทียบว่าสิ่งนั้น ...(adj.)... ที่สุด มี 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่ 1: ใช้ the นำหน้า adj. ที่ทำเป็นขั้นสูงสุดด้วยการเติม -est ท้ายคำนั้น ๆ
โครงสร้างประโยค : S + V. to be + the adj. Est
ex. She was the cleverest girl I have ever known.
(หล่อนเป็นผู้หญิงที่ฉลาดที่สุดที่ฉันเคยรู้จักมา)
รูปแบบที่ 2: ใช้ the most นำหน้า adj. นั้น
โครงสร้างประโยค: S + V. to be + the most adj.
ex. Miss N is the most boring person at my office.
(มิสเอ็นเป็นคนที่น่าเบื่อที่สุดในออฟฟิศของฉัน)
Determiner คือ คำที่ใช้นำหน้าคำนาม โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามนั้นๆ แบ่งเป็น 4 ประเภท
1. Articles ประกอบด้วย a, an, the
a ใช้กับคำนามนับได้เอกพจน์ที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ขึ้นต้นด้วยเสียงพยัญชนะ เช่น a dog, a boy, a book
an ใช้กับคำนามนับได้เอกพจน์ที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ เช่น an apple, an orange, an hour, an umbrella
the ใช้กับคำนามนับได้และนับไม่ได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ที่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น the book, the people, the money
2. Demonstrative คำนำหน้านามที่ช่วยบอกว่าสิ่งที่พูดถึงอยู่ใกล้หรือไกล ได้แก่ this, that, these, those
3. Possessive Adjective คำนำหน้านามที่แสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ my, your, his, her,its, our, their
4. Quantifiers คำนำหน้านามที่ช่วยบอกปริมาณของคำนามนั้นๆ เช่น few, a few, little, a little, much, many, some, any
Relative pronoun คือ คำสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค adjective clause เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งใดๆ ได้แก่คำว่า who, whom, whose, which, that
Relative adverb คือคำกริยาวิเศษณ์ชนิดหนึ่ง ใช้เพื่ออธิบายขยายความคำที่อยู่ข้างหน้าให้ชัดเจนขึ้้น เช่น where, when, why
TOEIC BASIC 500+ by ครูพี่อิ๋ง สอนตั้งแต่พื้นฐานระดับ 0 ไปจนถึงคนที่มีพื้นฐานอยู่แล้วที่ต้องการคะแนนเกิน 500+ ทำโจทย์เสมือนจริงครบทุกพาร์ท เข้าใจง่าย ใช้เวลาสั้น สมัครเรียนเลย >> https://vcourse.ai/courses/239
TOEIC : Listening 400+ by ครูพี่อิ๋ง เพิ่มความมั่นใจทักษะการฟัง พิชิตคะแนนเต็ม TOEIC Listening Part สมัครเรียนเลย >> https://vcourse.ai/courses/155
TOEIC : Reading 400+ by ครูพี่อิ๋ง ติว TOEIC Reading ตรงโจทย์จริง ในเวลาสั้น ๆ พร้อมปูพื้นฐานแกรมม่าสำหรับคนพื้นฐานไม่แน่น สมัครเรียนเลย >> https://vcourse.ai/courses/159