อยากเป็นเทรนเนอร์ต้องทำอย่างไรบ้าง
5470 views | 27/09/2022
Copy link to clipboard
Tinayac .
Content Creator

การเป็นเทรนเนอร์ นอกจากต้องจบหลักสูตรที่เกี่ยวกับการฝึกสอนระดับมืออาชีพแล้ว ต้องมีความรู้ด้านฟิตเนส เทคนิคการออกกำลังกาย เทคนิคการสอน และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับผู้เรียนด้วยเช่นกัน



เทรนเนอร์ คือ ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และสามารถถ่ายทอดเทคนิค รวมไปถึงวิธีการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการจะเป็นเทรนเนอร์ได้นั้น เราจำเป็นจะต้องมีความรู้เฉพาะทาง ควรจบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาหรือพละศึกษาโดยตรง หรือจะไปสอบใบประกาศหลักสูตรผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลระดับมืออาชีพ (Certified Personal Trainer Course) ก็ได้เช่นกัน


ภาพ : Shutterstock


สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องแล้ว และกำลังจะเริ่มสอนผู้อื่นออกกำลังกาย มีเทคนิคที่จะช่วยสอนให้คนออกกำลังกายเป็นที่ต้องทำความเข้าใจทั้งหมด 5 เทคนิค ดังต่อไปนี้



1. Data Collection

คือ การเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น โดยเราควรจดข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นเอาไว้ เพื่อให้สามารถเลือกใช้เทคนิคในการเทรนนิ่ง รวมไปถึงการออกแบบแผนการออกกำลังกายที่ถูกต้องกับผู้เรียนได้ โดยข้อมูลที่ควรเก็บ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ



1.1 Subjective Information คือ ข้อมูลทั่วไปที่ลูกค้าเป็นคนบอก ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่เทรนเนอร์ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะข้อมูลเหล่านี้หมายรวมไปถึงโรคภัย อาการบาดเจ็บ ความเสี่ยง และไลฟ์สไตล์ของผู้เรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อขอบเขตการทำงานของเราในอนาคต

1.2 Objective Information คือ ข้อมูลที่เทรนเนอร์เป็นคนวัดผล ส่วนใหญ่มักบันทึกจากแบบทดสอบ PARQ (Physical Activities Readiness Question) เพื่อสกรีนผู้เรียนว่ามีความพร้อมในการออกกำลังกายในระดับไหน



2. Critical Events

Critical Events คือขั้นตอนหลักที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเมื่อออกกำลังกายท่าหนึ่ง ๆ เป็นการบ่งบอกว่าเราออกกำลังกายท่านั้นได้ถูกต้อง ซึ่งเทรนเนอร์ควรมีความรู้เกี่ยวกับหลักอนาโตมีว่าท่าออกกำลังกายแต่ละท่าต้องใช้กล้ามเนื้อมัดไหน จัดระเบียบร่างกายอย่างไร และต้องหายใจอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดจากการออกกำลังกายแบบผิด ๆ



3. Coach Eye

คือ เทคนิคการสังเกตของเทรนเนอร์ว่าผู้เรียนออกกำลังกายได้ถูกต้องหรือไม่ โดยที่เราต้องตั้งวัตถุประสงค์ก่อนว่าเรากำลังมองหาอะไร เช่น มองการใช้ข้อต่อ มองการขยับ มองความมั่นคง มองการหายใจ ฯลฯ ซึ่งวัตถุประสงค์เหล่านี้ขึ้นอยู่กับท่าการออกกำลังกาย (เชื่อมโยงกับข้อ 2) นั่นเอง



4. Cueing & Feedback

คือ การให้คิวหรือผู้กำกับในการออกกำลังกายของผู้เรียน ออกคำสั่งเพื่อให้ผู้เรียนเกร็งกล้ามเนื้อให้ถูกจุด หรือเคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง โดยเลือกใช้คำพูดให้เห็นภาพง่าย ผู้เรียนมือใหม่ก็จินตนาการแล้วทำตามได้ เช่น การบอกให้ผู้เรียนยืนตัวตรงให้เหมือนกับมีเชือกดึงจากด้านบนอยู่ เป็นต้น แล้วร่างกายของผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เองโดยอัตโนมัติ



5. Session Plan

เป็นการวางแผนว่าใน 1 ชั่วโมงของการเทรนนิ่ง เราจะสอนอะไรบ้าง เพราะลูกค้าแต่ละคนมีความต้องการและอุปสรรคแตกต่างกัน เราจะเทรนทั้งหมด 1 ชั่วโมงไม่ได้ เราจึงจำเป็นต้องแบ่งเปอร์เซนต์ของการเทรนให้เหมาะสม โดยควรแบ่งจากหัวข้อหลัก ๆ คือ การโค้ช/การอธิบายให้เห็นภาพ (Coaching) การประคองน้ำหนักเพื่อให้ทำท่าได้ถูกต้อง (Spotting) และการสอนท่าออกกำลังกาย (Training) ตามตัวอย่างในภาพประกอบ



สำหรับผู้ที่สนใจเทคนิคและความรู้เกี่ยวกับการเป็นเทรนเนอร์เพิ่มเติม เรามีคอร์ส Fit Pro 1 How to Train Safely สอนโดยครูฟ้าใส ผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านฟิตเนสและโภชนาการมานานกว่า 19 ปี มาแนะนำ

>> คลิกเลย <<

ที่มาข้อมูล

  • FitPro1HowtoTrainSafelyโดยครูฟ้าใส