Ideation คือ แนวความคิดที่จะเปิดกว้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยการระดมความคิด เพื่อสร้าง Solution ที่ตอบโจทย์ความท้าทายที่เกิดขึ้น โดยเน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างทางเลือกที่หลากหลายและแตกต่างไปจากแนวคิดเดิม ๆ
Nielsen Norman Group ได้นิยาม Ideation ว่าเป็น “กระบวนการสร้างชุดความคิดกว้าง ๆ ในหัวข้อที่กำหนด โดยไม่พยายามตัดสินหรือประเมินความคิดเหล่านั้น” ซึ่งมันจะทำให้ในระหว่างที่คุณคิด คุณจะได้สำรวจและคิดไอเดียต่าง ๆ ได้มากที่สุด และแนวคิดเหล่านี้อาจเป็นทางออกที่เป็นไปได้สำหรับความท้าทายในการทำงานของคุณ จุดมุ่งหมายของการคิดแบบ Ideation คือการเปิดเผยและสำรวจมุมและลู่ทางใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่าการคิดนอกกรอบนั่นเอง
1. การระดมความคิด (Brainstorm)
นี่เป็นเทคนิคทั่วไปที่ใช้ในกระบวนการสร้างไอเดีย ในระหว่างที่ Brainstorm คุณมักจะได้ใช้ประโยชน์จากความคิดของสมาชิกคนอื่นในทีมและสามารถนำไปต่อยอดได้ สิ่งสำคัญในการระดมความคิดคือการสร้างบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกสบายใจที่จะพูดไอเดียออกมาโดยไม่มีการวิจารณ์ใด ๆ ทั้งนี้คุณต้องคำนึงถึงเรื่องลักษณะนิสัยของแต่ละคนด้วย คนที่มีลักษณะชอบเก็บตัว หรือ Introvert อาจจะไม่กล้าพูด ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการให้เขียนไอเดียทั้งหมดที่คิดแทน
2. คิดด้วย SCAMPER Model
SCAMPER คือ เทคนิคในการหาคำตอบเพื่อค้นพบความคิดใหม่ ๆ โดยเป็นคำย่อจาก 7 คำถามสำคัญ ได้แก่
● S = Substitute (การทดแทน) เช่น อะไรที่เราจะนำมาทดแทนเพื่อทำให้ดีขึ้น
● C = Combine (การผสมหรือรวมกัน) เช่น จะใช้วัสดุ, รูปแบบ, กระบวนการ, ส่วนประกอบใด มาผนวกรวมกันได้บ้าง
● A = Adapt (การปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น) เช่น เราจะเปลี่ยนส่วนใดของผลิตภัณฑ์ได้บ้างและเปลี่ยนไปเพื่ออะไร ?
● M = Modify/Magnify/Minify (การแก้ไข / ขยาย / ลดขนาด) เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเพิ่มส่วนประกอบให้มากขึ้น ?
● P = Put to other uses (การนำไปใช้เพื่อประโยชน์หรือวัตถุประสงค์อื่น) เช่น มีตลาดอื่นไหมที่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์นี้
● E = Eliminate (การตัดทิ้งหรือกำจัด) เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราตัดบางส่วนออก
● R = Rearrange/Reverse (จัดระบบใหม่) เช่น จะเกิดอะไรถ้าเรากลับทิศทางการทำงานใหม่
3. การหาไอเดียแย่ ๆ ที่มีความเป็นไปได้ (Worst Possible Idea)
เทคนิคนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามีประสิทธิภาพสูงในการทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนเปิดเผยออกมาได้แบบเต็มที่ และยังเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้ทุกคนกล้าพูด กล้าถาม และกล้าตั้งข้อสงสัยมากขึ้น ทั้งนี้ทุกไอเดียที่แต่ละคนเสนอมา จะต้องไม่มีใครตัดสินใคร เมื่อกล้าพูดสิ่งที่คิดไว้ในใจออกมา มันก็จะช่วยให้ได้ขบคิดมากขึ้น ซึ่งมันสามารถนำไปสู่ไอเดียที่ดีขึ้นได้
ตัวอย่างเช่น หากคุณถูกให้คิดไอเดียที่แย่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับการออกแบบรองเท้าผ้าใบ ความคิดที่แย่ที่สุดอาจเป็น
● รองเท้าผ้าใบที่มีเสียงเพลงเมื่อคุณเดิน
● รองเท้าผ้าใบที่จะเรืองแสงเมื่อคุณเดิน
● รองเท้าผ้าใบที่มีกระจกให้ก้มดูหน้าได้
แนวคิดต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานร่วมกันจะถูกจัดแบ่งและสรุปเป็นแนวคิดที่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานในอนาคตได้ โดยอาจนำแนวคิดต่าง ๆ ที่คิดได้ไปทดสอบกับปัญหาและปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม จากนั้นอาจกลับมาระดมสมองใหม่ ทดสอบซ้ำ และปรับแต่งต่อไปจนสมบูรณ์แบบ จนสามารถนำไปใช้ได้จริง ก็จะถือว่าประสบความสำเร็จและสิ้นสุดกระบวนการคิด
หากคุณอยากพัฒนาการคิดแก้ปัญหา อยากหาวิธีการสร้างไอเดียที่แปลกใหม่ให้เกิดขึ้นกับงาน รวมถึงหากคุณเป็นคนที่ไม่ได้มีความถนัดทางด้านการคิดค้นไอเดียใหม่ ๆ ขอแนะนำคอร์สเรียนออนไลน์ ‘Ideation’ หลักสูตรที่จะช่วยให้ทุกคนปลดล็อกการคิดไอเดียใหม่ ๆ ช่วยพัฒนาการคิดเชิงสร้างสรรค์ให้มีมากขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานได้จริง
ที่มาข้อมูล